ปลาเก๋าเสือ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาเก๋าเสือ | |
---|---|
ภาพวาดปลาเก๋าเสือ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Serranidae |
สกุล: | Epinephelus |
สปีชีส์: | E. fuscoguttatus |
ชื่อทวินาม | |
Epinephelus fuscoguttatus (Forsskål, 1775) |
ปลาเก๋าเสือ หรือ ปลากะรังลายน้ำตาล (อังกฤษ: Brown-marbled grouper, Tiger grouper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus fuscoguttatus)
เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลากะรังทั่วไป สีพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวและแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ไปจนถึงครีบต่าง ๆ และครีบหาง[2]
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 120 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดงในแอฟริกาตะวันออก, อ่าวเปอร์เซีย,ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, นิวแคลิโดเนีย, อินโด-แปซิฟิก จนถึงออสเตรเลีย
เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีการเพาะเลี้ยงอย่างปลากะรังชนิดอื่น ๆ โดยมีราคาขายตัวละ 400-600 บาท[3] รวมถึงมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาหมอทะเล หรือปลาเก๋ายักษ์ (E. lanceolatus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันแต่ตัวใหญ่กว่า เพื่อให้ได้ปลาลูกผสมที่เรียกว่า "ปลาเก๋ามุกมังกร" ที่เนื้อมีความนุ่มอร่อยกว่า และราคาถูกกว่า [4]
ปลานโปเลียน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลานโปเลียน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Labridae |
สกุล: | Cheilinus |
สปีชีส์: | C. undulatus |
ชื่อทวินาม | |
Cheilinus undulatus Rüppell, 1835 | |
ชื่อพ้อง | |
ปลานโปเลียน หรือ ปลานกขุนทองหัวโหนก (อังกฤษ: Napoleonfish, Humphead wrasse, Mauri wrase) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cheilinus undulatus จัดอยู่ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae)
ลักษณะ[แก้]
มีรูปร่างและลักษณะคล้ายปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด เมื่อยังเล็กมีลายแถบสองเส้นที่คาดผ่านตาเฉียงขึ้น เมื่อโตขึ้นลายแถบอันนี้จะหายไป สีพื้นลำตัวจะเข้มขึ้น ในปลาเพศผู้มีสีเหลือบเขียวอมน้ำเงิน มีลายสีชมพูปรากฏเป็นจุดเป็นเส้นเล็ก ๆ แทรกตามเกล็ด ซึ่งมีความแวววาวเป็นเลื่อมมัน ขณะที่ปลาเพศเมียจะมีลวดลายที่อ่อนกว่า ซึ่งปลาทั้งสองเพศจะมีจุดเด่นที่สังเกตได้ง่าย คือ ส่วนหัวที่โหนกนูนเหมือนสันหรือนอเห็นอย่างชัดเจน ซึ่งจะปรากฏเมื่อปลามีความยาวได้ 2-3 ฟุต ขอบหางมีสีเขียวอมเหลือง มีดวงตาที่สามารถกลอกกลิ้งไปมาได้
จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยเต็มที่อาจยาวได้ถึงเกือบ 3 เมตร และมีน้ำหนักถึง 190 กิโลกรัม
ที่อยู่[แก้]
เป็นปลาที่อาศัยหากินอยู่ในแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อน เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยกินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร
สำหรับในน่านน้ำไทย พบแพร่กระจายอยู่แถบทะเลอันดามัน พบตามบริเวณกองหิน แนวปะการังของ เกาะสุรินทร์, หมู่เกาะสิมิลัน ในความลึกประมาณ 3-30 เมตร [2]
ชื่อเรียกอื่น[แก้]
เหตุที่ได้ชื่อว่า "นโปเลียน" ด้วยเหตุที่ส่วนหัวที่โหนกนูน โดยเฉพาะในปลาเพศผู้ที่จะโหนกกว่าปลาเพศเมีย แลดูคล้ายหมวกของจักรพรรดินโปเลียน[3]
เป็นปลาที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยปลาที่ขายกันในตลาดปลาสวยงาม มักเป็นปลาวัยอ่อนที่มีความยาว 2-3 นิ้ว และจับมาจากฝั่งอ่าวไทยเป็นส่วนใหญ่[3]
อ้างอิง
ปลาฉลามหัวค้อน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาฉลามหัวค้อน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนยุคกลาง-ปัจจุบัน
บริเวณส่วนหัว อันเป็นลักษณะเด่น
ฝูงปลาฉลามหัวค้อนหยัก (S. lewini) ที่หมู่เกาะกาลาปาโกส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Selachimorpha
อันดับ: Carcharhiniformes
วงศ์: Sphyrnidae
Gill, 1872
สกุล: Sphyrna
Rafinesque, 1810
สปีชีส์:
9 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของปลาฉลามหัวค้อน
ชื่อพ้อง
- Cestracion
- Squalus
- Zygaena
ปลาฉลามหัวค้อน (อังกฤษ: Hammerhead shark) เป็นปลาฉลามในวงศ์ Sphyrnidae มีเพียงสกุลเท่านั้น คือ Sphyrna
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาฉลามหัวค้อน ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนยุคกลาง-ปัจจุบัน | |
---|---|
บริเวณส่วนหัว อันเป็นลักษณะเด่น | |
ฝูงปลาฉลามหัวค้อนหยัก (S. lewini) ที่หมู่เกาะกาลาปาโกส | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับใหญ่: | Selachimorpha |
อันดับ: | Carcharhiniformes |
วงศ์: | Sphyrnidae Gill, 1872 |
สกุล: | Sphyrna Rafinesque, 1810 |
สปีชีส์: | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของปลาฉลามหัวค้อน | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาฉลามหัวค้อน (อังกฤษ: Hammerhead shark) เป็นปลาฉลามในวงศ์ Sphyrnidae มีเพียงสกุลเท่านั้น คือ Sphyrna
เนื้อหา
ลักษณะ[แก้]
มีรูปร่างที่แปลกตาแตกต่างไปจากปลาฉลามในวงศ์หรือสกุลอื่น ๆ คือ มีส่วนหัวที่แบนราบและแผ่ออกข้างคล้ายปีกหรือแลดูคล้ายค้อนทั้งสองข้าง โดยมีดวงตาอยู่สุดปลายทั้งสอง ปัจจุบัน ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีไว้เพื่ออะไร แต่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ช่วยให้การหาว่ายน้ำที่ช่วยส่งแรงยกตัวขึ้นหน้าด้าน ทำให้พุ่งตัวขึ้นในแนวดิ่งได้ดีขึ้น อีกทั้งยังใช้เป็นประสาทสัมผัสรับรู้และช่วยลดแรงต้านน้ำให้เหลือน้อยลงในการไล่งับอาหาร และในเวลาเอี้ยวหัวในเวลาว่ายน้ำ ซึ่งจากตำแหน่งของตาที่อยู่สุดปลายปีกสองข้างนั้น ทำให้ปลาฉลามหัวค้อนมีประสาทสายตาดีกว่าปลาฉลามจำพวกอื่น ๆ โดยสามารถมองเห็นภาพในมุมกว้างได้มากกว่าและสามารถทำให้มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ มีรูจมูกที่แยกจากกันเพื่อประสิทธิภาพในการดมกลิ่น[1] และยังสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ เพื่อจับหาที่อยู่ของอาหารได้ด้วย ไม่ว่าจะอยู่กลางทะเลหรือซ่อนอยู่บริเวณหน้าดินก็ตาม แต่ทว่าก็มีข้อเสียคือ ไม่สามารถที่จะเห็นภาพหรือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในระยะใกล้ได้[2]
มีรูปร่างที่แปลกตาแตกต่างไปจากปลาฉลามในวงศ์หรือสกุลอื่น ๆ คือ มีส่วนหัวที่แบนราบและแผ่ออกข้างคล้ายปีกหรือแลดูคล้ายค้อนทั้งสองข้าง โดยมีดวงตาอยู่สุดปลายทั้งสอง ปัจจุบัน ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีไว้เพื่ออะไร แต่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ช่วยให้การหาว่ายน้ำที่ช่วยส่งแรงยกตัวขึ้นหน้าด้าน ทำให้พุ่งตัวขึ้นในแนวดิ่งได้ดีขึ้น อีกทั้งยังใช้เป็นประสาทสัมผัสรับรู้และช่วยลดแรงต้านน้ำให้เหลือน้อยลงในการไล่งับอาหาร และในเวลาเอี้ยวหัวในเวลาว่ายน้ำ ซึ่งจากตำแหน่งของตาที่อยู่สุดปลายปีกสองข้างนั้น ทำให้ปลาฉลามหัวค้อนมีประสาทสายตาดีกว่าปลาฉลามจำพวกอื่น ๆ โดยสามารถมองเห็นภาพในมุมกว้างได้มากกว่าและสามารถทำให้มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ มีรูจมูกที่แยกจากกันเพื่อประสิทธิภาพในการดมกลิ่น[1] และยังสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ เพื่อจับหาที่อยู่ของอาหารได้ด้วย ไม่ว่าจะอยู่กลางทะเลหรือซ่อนอยู่บริเวณหน้าดินก็ตาม แต่ทว่าก็มีข้อเสียคือ ไม่สามารถที่จะเห็นภาพหรือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในระยะใกล้ได้[2]
พฤติกรรม[แก้]
ปลาฉลามหัวค้อน มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 10-20 ตัว พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลแถบอบอุ่นทั่วทุกมุมโลก เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว มีขนาดลำตัวตั้งแต่ไม่เกิน 1.5 เมตร จนถึง 6 เมตร ชอบกินอาหารจำพวก ปลากระดูกแข็งขนาดเล็กกว่า รวมถึงปลากระเบนซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเหมือนกันด้วย นอกจากนี้ยังชอบกิน หมึก, กุ้ง, ปู และหอย รวมทั้งอาจล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลขนาดใหญ่ เช่น โลมาหรือแมวน้ำ ได้ด้วยในบางชนิด โดยมักว่ายหากินตั้งแต่แนวปะการังไปจนถึงใต้ท้องทะเลลึกกว่า 275 เมตร ชอบว่ายน้ำโดยไม่หยุดไปมาตลอด ซึ่งสามารถว่ายน้ำได้ระยะไกล ๆ ในวันหนึ่ง ๆ โดยมีความเร็วในการว่ายประมาณ 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 25 ปี
ปลาฉลามหัวค้อนจะออกลูกเป็นตัว ตกคราวละ 4-37 ตัว โดยการผสมพันธุ์จะเกิดก่อนที่ตัวเมียจะตกไข่นานถึง 2 เดือน ปลาตัวเมียจะเก็บน้ำเชื้อของตัวผู้ไว้ในต่อมสร้างเปลือกไข่ ซึ่งไข่จะเจริญมาจากรังไข่ข้างขวาซึ่งจะทำหน้าที่เพียงข้างเดียว ตัวอ่อนในมดลูกจะได้รับอาหารและออกซิเจนจากถุงไข่แดงและพู่เหงือก ซึ่งจะหายไปเมื่อโตขึ้น[3]
ปลาฉลามหัวค้อนที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบหมู่เกาะกาลาปากอส มีพฤติกรรมว่ายออกหากินเป็นฝูง และไม่เพียงแค่ว่ายน้ำไปพร้อมกันเท่านั้น แต่พวกยังมีระบบสังคมหรือแม้แต่การสื่อสารปรากฏออกมาผ่านพฤติกรรมทั้งการสั่นหัวอย่างรุนแรง การเร่งความเร็วอย่างกะทันหัน การบิดตัวอย่างแปลกประหลาด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาเรื่องนี้เชื่อว่าท่าทางเหล่านี้คือการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม โดยจะรวมตัวกันอยู่ที่แถว ๆ ภูเขาไฟใต้ทะเลระหว่างวัน แต่เมื่อถึงตอนกลางคืนก็จะแยกย้ายกันออกไปหาอาหารของตัวเอง ปลาฉลามหัวค้อนมักจะทำกิจวัตรทุกอย่างที่เป็นเส้นตรง และจะกลับมาตอนรุ่งเช้า ก่อนจะเริ่มต้นทำทุกอย่างเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง
ปลาฉลามหัวค้อน ถือเป็นนักล่าที่ปราดเปรียวว่องไว ถือว่ามีความว่องไวกว่าปลาฉลามนักล่าขนาดใหญ่กว่า อย่าง ปลาฉลามขาว หรือปลาฉลามเสือ การปักและหมุนเป็นพฤติกรรมที่ปลาฉลามหัวค้อนจะใช้ส่วนหัวกดปลากระเบนให้ดำดิ่งลงไปติดพื้นทะเล จากนั้นก็จะหมุนตัวเพื่อเลือกชิ้นส่วนของปลากระเบนในการกัดกิน การใช้หัวปักเหยื่อคือหนึ่งในความสามารถของการปรับตัวกับขนาดหัวที่ใหญ่ ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่แปลกประหลาดแต่ก็มีประสิทธิภาพมากที่สุดประการหนึ่งเช่นกัน[1]
ปลาฉลามหัวค้อน มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 10-20 ตัว พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลแถบอบอุ่นทั่วทุกมุมโลก เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว มีขนาดลำตัวตั้งแต่ไม่เกิน 1.5 เมตร จนถึง 6 เมตร ชอบกินอาหารจำพวก ปลากระดูกแข็งขนาดเล็กกว่า รวมถึงปลากระเบนซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเหมือนกันด้วย นอกจากนี้ยังชอบกิน หมึก, กุ้ง, ปู และหอย รวมทั้งอาจล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลขนาดใหญ่ เช่น โลมาหรือแมวน้ำ ได้ด้วยในบางชนิด โดยมักว่ายหากินตั้งแต่แนวปะการังไปจนถึงใต้ท้องทะเลลึกกว่า 275 เมตร ชอบว่ายน้ำโดยไม่หยุดไปมาตลอด ซึ่งสามารถว่ายน้ำได้ระยะไกล ๆ ในวันหนึ่ง ๆ โดยมีความเร็วในการว่ายประมาณ 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 25 ปี
ปลาฉลามหัวค้อนจะออกลูกเป็นตัว ตกคราวละ 4-37 ตัว โดยการผสมพันธุ์จะเกิดก่อนที่ตัวเมียจะตกไข่นานถึง 2 เดือน ปลาตัวเมียจะเก็บน้ำเชื้อของตัวผู้ไว้ในต่อมสร้างเปลือกไข่ ซึ่งไข่จะเจริญมาจากรังไข่ข้างขวาซึ่งจะทำหน้าที่เพียงข้างเดียว ตัวอ่อนในมดลูกจะได้รับอาหารและออกซิเจนจากถุงไข่แดงและพู่เหงือก ซึ่งจะหายไปเมื่อโตขึ้น[3]
ปลาฉลามหัวค้อนที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบหมู่เกาะกาลาปากอส มีพฤติกรรมว่ายออกหากินเป็นฝูง และไม่เพียงแค่ว่ายน้ำไปพร้อมกันเท่านั้น แต่พวกยังมีระบบสังคมหรือแม้แต่การสื่อสารปรากฏออกมาผ่านพฤติกรรมทั้งการสั่นหัวอย่างรุนแรง การเร่งความเร็วอย่างกะทันหัน การบิดตัวอย่างแปลกประหลาด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาเรื่องนี้เชื่อว่าท่าทางเหล่านี้คือการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม โดยจะรวมตัวกันอยู่ที่แถว ๆ ภูเขาไฟใต้ทะเลระหว่างวัน แต่เมื่อถึงตอนกลางคืนก็จะแยกย้ายกันออกไปหาอาหารของตัวเอง ปลาฉลามหัวค้อนมักจะทำกิจวัตรทุกอย่างที่เป็นเส้นตรง และจะกลับมาตอนรุ่งเช้า ก่อนจะเริ่มต้นทำทุกอย่างเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง
ปลาฉลามหัวค้อน ถือเป็นนักล่าที่ปราดเปรียวว่องไว ถือว่ามีความว่องไวกว่าปลาฉลามนักล่าขนาดใหญ่กว่า อย่าง ปลาฉลามขาว หรือปลาฉลามเสือ การปักและหมุนเป็นพฤติกรรมที่ปลาฉลามหัวค้อนจะใช้ส่วนหัวกดปลากระเบนให้ดำดิ่งลงไปติดพื้นทะเล จากนั้นก็จะหมุนตัวเพื่อเลือกชิ้นส่วนของปลากระเบนในการกัดกิน การใช้หัวปักเหยื่อคือหนึ่งในความสามารถของการปรับตัวกับขนาดหัวที่ใหญ่ ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่แปลกประหลาดแต่ก็มีประสิทธิภาพมากที่สุดประการหนึ่งเช่นกัน[1]
ปลาบู่มหิดล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาบู่มหิดล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Gobiidae
สกุล: Mahidolia
Smith, 1932
สปีชีส์: M. mystacina
ชื่อทวินาม
Mahidolia mystacina
(Valenciennes, 1837)
ชื่อพ้อง[1]
ปลาบู่มหิดล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mahidolia mystacina) เป็นปลาบู่ที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2475 โดย ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ และได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ [2] และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ในฐานะที่ได้ทรงอุปถัมภ์ และพระราชทานทุนสำหรับส่งนักเรียนไปศึกษาต่อด้านการประมงในต่างประเทศ [3] และทรงได้รับถวายสมัญญานามว่า "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย"[4]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาบู่มหิดล | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Gobiidae |
สกุล: | Mahidolia Smith, 1932 |
สปีชีส์: | M. mystacina |
ชื่อทวินาม | |
Mahidolia mystacina (Valenciennes, 1837) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
ปลาบู่มหิดล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mahidolia mystacina) เป็นปลาบู่ที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2475 โดย ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ และได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ [2] และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ในฐานะที่ได้ทรงอุปถัมภ์ และพระราชทานทุนสำหรับส่งนักเรียนไปศึกษาต่อด้านการประมงในต่างประเทศ [3] และทรงได้รับถวายสมัญญานามว่า "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย"[4]
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ในราวปี พ.ศ. 2469 ซึ่งเป็นช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการจัดตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ โดยมีชาวอเมริกัน ชื่อ ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ เข้ามาปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยง และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในประเทศไทย ในตำแหน่งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำคนแรก
ผลงานในหน้าที่รับผิดชอบของฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ที่เกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย โดยเฉพาะพันธุ์ปลา มีรวมกว่า 60 เรื่อง อีกทั้งยังได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับปลาที่ค้นพบใหม่รวม 67 ชนิด เป็นสกุลใหม่รวม 21 สกุล ในจำนวนนี้ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ปลาบู่ โดยให้ชื่อสกุลว่า Mahidolia เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ในการที่พระองค์ทรงสนพระทัย ทรงใคร่ติดตาม และเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อการประมงของประเทศไทย พระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับคนไทย เพื่อที่จะได้มาทำงานด้านการประมงต่อจากฮิว แมคคอร์มิค สมิธ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยง และการอนุรักษ์พันธุ์ปลา
ในราวปี พ.ศ. 2469 ซึ่งเป็นช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการจัดตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ โดยมีชาวอเมริกัน ชื่อ ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ เข้ามาปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยง และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในประเทศไทย ในตำแหน่งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำคนแรก
ผลงานในหน้าที่รับผิดชอบของฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ที่เกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย โดยเฉพาะพันธุ์ปลา มีรวมกว่า 60 เรื่อง อีกทั้งยังได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับปลาที่ค้นพบใหม่รวม 67 ชนิด เป็นสกุลใหม่รวม 21 สกุล ในจำนวนนี้ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ปลาบู่ โดยให้ชื่อสกุลว่า Mahidolia เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ในการที่พระองค์ทรงสนพระทัย ทรงใคร่ติดตาม และเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อการประมงของประเทศไทย พระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับคนไทย เพื่อที่จะได้มาทำงานด้านการประมงต่อจากฮิว แมคคอร์มิค สมิธ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยง และการอนุรักษ์พันธุ์ปลา
ปลาตีนลายจุด
ปลาตีนลายจุดหรือ Brachionichthys hirsutus คือปลาน้ำลึกใกล้สูญพันธุ์และหายากแห่งออสเตรเลย มันมีครีบหน้าอกที่เหมือนกับแขนสั้นๆติดมือ เจ้านี้สามารถว่ายน้ำหรือเดินไปตามพื้นทะเลได้ด้วยครีบเหล่านี้ แต่มันชอบที่จะเดินมากกว่า
ปลาหมอทะเล
จ
ากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาหมอทะเล | |
---|---|
ปลาหมอทะเลที่สยามโอเชียนเวิลด์ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Serranidae |
สกุล: | Epinephelus |
สปีชีส์: | E. lanceolatus |
ชื่อทวินาม | |
Epinephelus lanceolatus (Bloch, 1790) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาหมอทะเล (อังกฤษ: Giant grouper, Queensland grouper) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelus lanceolatus ในวงศ์ปลากะรัง(Serranidae) มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่าง ๆ
ปลาหมอทะเลเป็นปลาในวงศ์ปลากะรังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร น้ำหนักหนักถึง 400 กิโลกรัม ถือเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกินปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4-100 เมตร และยังชอบที่จะขุดหลุมคล้ายปลานิล พื้นหลุมแข็งบริเวณข้างหลุมเป็นเลนค่อนข้างหนา ปากหลุมกว้างประมาณ 50-100 เซนติเมตร [2]
พบอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นในแถบอินโด-แปซิฟิก, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ จนถึงอ่าวเปอร์เซีย นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ
เป็นปลาที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และด้วยความใหญ่โตของร่างกาย ปลาหมอทะเลจึงมักนิยมเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่หรือในอุโมงค์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเลภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เป็นต้น และนิยมเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กในน้ำจืดเหมือนปลาสวยงามทั่วไปด้วย แต่ทว่าก็จะเลี้ยงได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อโตขึ้น หากยังเลี้ยงในน้ำจืดอยู่ ปลาก็จะตายในที่สุด
นอกจากนี้แล้ว ทางกรมประมงยังได้เพาะขยายพันธุ์ลูกผสมระหว่างปลาหมอทะเลกับปลากะรังดอกแดง ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ได้เป็นผลสำเร็จ โดยลูกปลาขนาดเล็กจะมีลวดลายคล้ายกับปลาเสือตอซึ่งเป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่มีชื่อเสียง ที่อยู่ต่างวงศ์กัน จนได้รับการเรียกชื่อว่า "ปลาเสือตอทะเล" โดยปลาเสือตอทะเลนั้นได้นำมาเปิดตัวครั้งแรกในงานประมงน้อมเกล้าฯ ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ที่ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต[3] [4][5]
ปลาเฉี่ยวหิน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาเฉี่ยวหิน | |
---|---|
ฝูงปลาในทะเล | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Monodactylidae |
สกุล: | Monodactylus |
สปีชีส์: | M. argenteus |
ชื่อทวินาม | |
Monodactylus argenteus (Linnaeus, 1758) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาเฉี่ยวหิน หรือ ปลาเฉี่ยว หรือ ปลาผีเสื้อเงิน หรือ ปลาโสร่งแขก (อังกฤษ: Silver moony) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าMonodactylus argenteus อยู่ในวงศ์ปลาเฉี่ยว (Monodactylidae)
มีรูปร่างแบนข้างมาก ลำตัวป้อมสั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ครีบหลังและครีบก้นยื่นยาว ผิวลำตัวสีเงินเหลือบเป็นประกายแวววาว เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด ครีบหลังสีเหลืองมีลายคาดสีดำตามขวางผ่านตาและบริเวณขอบแผ่นปิดเหงือก ปากเล็กและเฉียงขึ้นบน หัวเล็ก ดวงตากลมโต สามารถโตได้ถึง 13 นิ้วแต่โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 8 นิ้ว
มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่งในเขตอบอุ่น มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง โดยพบตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก,ซามัว ไปจนถึงนิวแคลิโดเนียจนถึงออสเตรเลีย สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยและน้ำจืดสนิทได้เป็นอย่างดี
เป็นปลาที่มีความสวยงามอีกชนิดหนึ่ง และความสามารถที่ปรับตัวในน้ำจืดได้ จึงนิยมเบลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า "บอร์เนียว" หรือ "เทวดาบอร์เนียว" เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายปลาเทวดา[1]
ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง โดยแม่ปลาจะวางไข่ได้ทั้งปี โดยการแบ่งเพศจะไม่สามารถทำได้ จนกว่าจะถึงฤดูผสมพันธุ์ โดยสังเกตคร่าว ๆ ว่า ปลาเพศเมียนั้นจะมีขนาดใหญ่ปลาเพศผู้ และช่องท้องจะอูมกว่า ช่องเพศจะเต่งตึงขณะกำลังตั้งท้อง โดยจะเพาะได้ในบ่อดิน การรวบรวมไข่จะกระทำได้ต่อเมื่อถ่ายน้ำ โดยใช้วัสดุตาข่ายที่มีความละเอียดกรอง[2]
ปลาฉนากฟันเล็ก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาฉนากฟันเล็ก | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Pristiformes |
วงศ์: | Pristidae |
สกุล: | Pristis |
สปีชีส์: | P. pectinata |
ชื่อทวินาม | |
Pristis pectinata Latham, 1794 |
ปลาฉนากฟันเล็ก (อังกฤษ: Smalltooth sawfish) เป็นปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pristis pectinata อยู่ในวงศ์ปลาฉนาก (Pristidae) มีรูปร่างเหมือนปลาฉนากทั่วไป มีจะงอยปากมีความยาวประมาณ 1/4 ของขนาดลำตัวและหาง มีรูปทรงที่แคบและยาวเมื่อเทียบกับฉนากชนิดอื่น ๆ มีซี่ฟัน 21-34 คู่ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 7.6 เมตร ขนาดเมื่อแรกเกิด 60 เซนติเมตร
พบกระจายพันธุ์อยู่กว้างขวาง ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือ ไปจนถึงทวีปอเมริกาใต้, ประเทศบราซิล, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน,มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแปซิฟิก เป็นปลาฉนากอีกชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อย หรือน้ำจืดได้ โดยมีรายงานพบที่ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้แล้วยังมีรายงานว่า ฉนากฟันเล็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวใส่ปลาฉลามที่ร่วมตู้เดียวกัน ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
วงศ์ปลาอินทรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาอินทรี
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Scombroidei
วงศ์: Scombridae
วงศ์ย่อยและสกุล
ชื่อพ้อง
- Cybiidae
- Thunnidae
วงศ์ปลาอินทรี (อังกฤษ: Mackerel, Tuna, King mackerel) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae
มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง
มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[1]
โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรีเป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย
ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684กิโลกรัม[2]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาอินทรี | |
---|---|
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Scombroidei |
วงศ์: | Scombridae |
วงศ์ย่อยและสกุล | |
ชื่อพ้อง | |
|
วงศ์ปลาอินทรี (อังกฤษ: Mackerel, Tuna, King mackerel) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae
มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง
มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[1]
โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรีเป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย
ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684กิโลกรัม[2]
ปลาไหลริบบิ้น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาไหลริบบิ้น
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Anguilliformes
วงศ์: Muraenidae
สกุล: Rhinomuraena
Garman, 1888
สปีชีส์: R. quaesita
ชื่อทวินาม
Rhinomuraena quaesita
Garman, 1888
ชื่อพ้อง
- Rhinomuraena amboinensisBarbour, 1908
ปลาไหลริบบิ้น (อังกฤษ: Ribbon eel, Black leafnosed moray eel, Black ribbon eel, Ribbon moray; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinomuraena quaesita) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) และจัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rhinomuraena[2]
จัดเป็นปลาไหลมอเรย์ขนาดเล็ก มีสีสันสดใส และสามารถเปลี่ยนเพศได้ตามวัย นั้นคือเมื่อยังเล็ก ลำตัวเป็นสีดำ โดยที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย แต่เมื่อโตขึ้นลำตัวเป็นสีน้ำเงินและเป็นตัวผู้และเมื่อมีอายุมากขึ้นอีกลำตัวเป็นสีเหลืองและกลายเป็นตัวเมีย
กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร โดยปลาไหลจะยืดตัวออกจากรูเพื่อหาอาหาร โดยปกติจะซ่อนตัวอยู่ในรูตามพื้นทะเล ซึ่งเป็นทราย
มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตร เป็นปลาที่พบได้น้อย กระจายพันธุ์อยู่ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยก็พบได้น้อย โดยพบได้ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย เช่น เกาะเต่า, หมู่เกาะสิมิลัน เป็นต้น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาไหลริบบิ้น | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Anguilliformes |
วงศ์: | Muraenidae |
สกุล: | Rhinomuraena Garman, 1888 |
สปีชีส์: | R. quaesita |
ชื่อทวินาม | |
Rhinomuraena quaesita Garman, 1888 | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาไหลริบบิ้น (อังกฤษ: Ribbon eel, Black leafnosed moray eel, Black ribbon eel, Ribbon moray; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinomuraena quaesita) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) และจัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rhinomuraena[2]
จัดเป็นปลาไหลมอเรย์ขนาดเล็ก มีสีสันสดใส และสามารถเปลี่ยนเพศได้ตามวัย นั้นคือเมื่อยังเล็ก ลำตัวเป็นสีดำ โดยที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย แต่เมื่อโตขึ้นลำตัวเป็นสีน้ำเงินและเป็นตัวผู้และเมื่อมีอายุมากขึ้นอีกลำตัวเป็นสีเหลืองและกลายเป็นตัวเมีย
กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร โดยปลาไหลจะยืดตัวออกจากรูเพื่อหาอาหาร โดยปกติจะซ่อนตัวอยู่ในรูตามพื้นทะเล ซึ่งเป็นทราย
มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตร เป็นปลาที่พบได้น้อย กระจายพันธุ์อยู่ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยก็พบได้น้อย โดยพบได้ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย เช่น เกาะเต่า, หมู่เกาะสิมิลัน เป็นต้น
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์
ส่วนหัว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Anguilliformes
วงศ์: Muraenidae
สกุล: Gymnothorax
สปีชีส์: G. javanicus
ชื่อทวินาม
Gymnothorax javanicus
(Bleeker, 1859)
ชื่อพ้อง[1]
- Gymnothorax mindanoensisBorodin, 1930
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ หรือ ปลาหลดหินยักษ์[2] (อังกฤษ: Giant moray; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnothorax javanicus) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae)
มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลมอเรย์ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวสีเหลืองอมน้ำตาลแต้มด้วยจุดและลายสีน้ำตาลไหม้อยู่ทั่วไป ด้านข้างลำตัวบริเวณคอมีจุดสีดำเด่นชัดหนึ่งแห่ง ปลาไหลมอเรย์ยักษ์มีความยาวโดยเฉลี่ย 1.5 เมตร ยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5-3 เมตร น้ำหนักถึง 36 กิโลกรัม นับเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้[3]
พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, หมู่เกาะริวกิว, ฮาวาย, นิวแคลิโดเนีย, ฟิจิ, หมู่เกาะออสเตรียล มักซุกซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินในแนวปะการัง โดยโผล่มาแค่เฉพาะส่วนหัว กินอาหาร ได้แก่ กุ้ง, ปู, ปลา และหมึกสายด้วยการงับด้วยกรามที่แข็งแรงและแหลมคม
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ แม้จะมีรูปร่างหน้าตาที่น่ากลัว แต่ที่จริงแล้วเป็นปลาที่รักสงบ ไม่ดุร้าย แต่อาจทำอันตรายนักดำน้ำได้หากไปรบกวนถูก หรือเข้าใจผิดเพราะคิดว่าเป็นอาหาร ซึ่งอาจถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะถึงขั้นนิ้วขาดได้ และจะมีฤดูกาลที่ดุร้าย คือ ฤดูผสมพันธุ์ นอกจากนี้แล้วในเนื้อจะมีสารพิษซิกัวเทอรา [4]
เป็นปลาไหลมอเรย์อีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมของนักประดาน้ำ และเลี้ยงแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ[5]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ | |
---|---|
ส่วนหัว | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Anguilliformes |
วงศ์: | Muraenidae |
สกุล: | Gymnothorax |
สปีชีส์: | G. javanicus |
ชื่อทวินาม | |
Gymnothorax javanicus (Bleeker, 1859) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ หรือ ปลาหลดหินยักษ์[2] (อังกฤษ: Giant moray; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnothorax javanicus) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae)
มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลมอเรย์ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวสีเหลืองอมน้ำตาลแต้มด้วยจุดและลายสีน้ำตาลไหม้อยู่ทั่วไป ด้านข้างลำตัวบริเวณคอมีจุดสีดำเด่นชัดหนึ่งแห่ง ปลาไหลมอเรย์ยักษ์มีความยาวโดยเฉลี่ย 1.5 เมตร ยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5-3 เมตร น้ำหนักถึง 36 กิโลกรัม นับเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้[3]
พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, หมู่เกาะริวกิว, ฮาวาย, นิวแคลิโดเนีย, ฟิจิ, หมู่เกาะออสเตรียล มักซุกซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินในแนวปะการัง โดยโผล่มาแค่เฉพาะส่วนหัว กินอาหาร ได้แก่ กุ้ง, ปู, ปลา และหมึกสายด้วยการงับด้วยกรามที่แข็งแรงและแหลมคม
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ แม้จะมีรูปร่างหน้าตาที่น่ากลัว แต่ที่จริงแล้วเป็นปลาที่รักสงบ ไม่ดุร้าย แต่อาจทำอันตรายนักดำน้ำได้หากไปรบกวนถูก หรือเข้าใจผิดเพราะคิดว่าเป็นอาหาร ซึ่งอาจถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะถึงขั้นนิ้วขาดได้ และจะมีฤดูกาลที่ดุร้าย คือ ฤดูผสมพันธุ์ นอกจากนี้แล้วในเนื้อจะมีสารพิษซิกัวเทอรา [4]
เป็นปลาไหลมอเรย์อีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมของนักประดาน้ำ และเลี้ยงแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ[5]
วงศ์ปลาไหลมอเรย์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปลาไหลมอเรย์)
วงศ์ปลาไหลมอเรย์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีน-ปัจจุบัน
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ (Gymnothorax javanicus)
ภาพแสดงให้เห็นถึงกรามของปลาไหลมอเรย์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Anguilliformes
วงศ์: Muraenidae
สกุล
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง[1]
- Heteromyridae
ปลาไหลมอเรย์ หรือ ปลาหลดหิน (อังกฤษ: Moray eel, Moray) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muraenidae อยู่ในอันดับปลาไหล (Anguilliformes)
มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลทั่วไป ไม่มีครีบอก ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง โดยมีจุดเด่นร่วมกันคือ มีส่วนปากที่แหลม ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังขนาดหนาและเมือกลื่นแทน เหงือกของปลาไหลมอเรย์ยังลดรูป เป็นเพียงรูเล็ก ๆ อยู่ข้างครีบอกที่ลดรูปเหมือนกัน เลยต้องอ้าปากช่วยหายใจเกือบตลอดเวลา คล้ายกับการที่อ้าปากขู่ นอกจากนี้แล้วภายในกรามยังมีกรามขนาดเล็กซ้อนกันอยู่ข้างใน ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงคอหอย แต่จะออกมาซ้อนกับกรามใหญ่เมื่อเวลาอ้าปาก ใช้สำหรับจับและขบกัดกินอาหารไม่ให้หลุด
ปลาไหลมอเรย์เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยการล่าเหยื่อด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางกลิ่น ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ ยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง คล้ายจมูก ซึ่งอวัยวะส่วนนี้มีความไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่าง ๆ เช่น กลิ่นเลือดหรือกลิ่นของสัตว์ที่บาดเจ็บมีบาดแผล อาหารได้แก่ ปลาทั่วไป รวมถึงสัตว์ที่มีกระดองแข็งเช่น กุ้ง, กั้ง, ปู รวมถึงหมึกด้วย
โดยปกติแล้วปลาไหลมอเรย์จะอาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือซอกปะการังในแนวปะการัง โดยยื่นแต่เฉพาะส่วนหัวโผล่ออกมาราว 1/4 ของความยาวลำตัว พร้อมกับอ้าปากส่ายหัว เพื่อป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยและหาเหยื่อ ที่จะออกมาว่ายน้ำนั้นจะเป็นช่วงเวลากลางคืนที่หาอาหาร
ปลาไหลมอเรย์มีกรามที่แข็งแรงและฟันที่แหลมคม แม้จะมีหน้าตาน่ากลัว แต่ไม่ใช่เป็นปลาที่ดุร้าย กลับกันกลับเป็นปลาที่รักสงบ แต่จะจู่โจมใส่ผู้ที่บุกรุก โดยหลายครั้งที่นักประดาน้ำไปเผลอรบกวนโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็อาจถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะถึงขั้นนิ้วขาดได้ เพราะฟันที่แหลมคมและการกัดที่ไม่ปล่อย และอีกช่วงที่ปลาไหลมอเรย์จะดุร้าย คือ ในฤดูผสมพันธุ์ [2]
ปลาไหลมอเรย์ มีทั้งหมดราว 70 ชนิด พบในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก ส่วนใหญ่มีสีสันและลวดลายสวยงามแตกต่างกันออกไปตามแตค่ละชนิดหรือสกุล แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อย ในบางชนิดที่มีขนาดเล็ก จะไม่ความยาวไม่เกิน 2 ฟุตและอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[3] ขณะที่ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไหลมอเรย์ยักษ์(Gymnothorax javanicus) ยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 36 กิโลกรัม[4]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปลาไหลมอเรย์)
วงศ์ปลาไหลมอเรย์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีน-ปัจจุบัน | |
---|---|
ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ (Gymnothorax javanicus) | |
ภาพแสดงให้เห็นถึงกรามของปลาไหลมอเรย์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Anguilliformes |
วงศ์: | Muraenidae |
สกุล | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ปลาไหลมอเรย์ หรือ ปลาหลดหิน (อังกฤษ: Moray eel, Moray) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muraenidae อยู่ในอันดับปลาไหล (Anguilliformes)
มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลทั่วไป ไม่มีครีบอก ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง โดยมีจุดเด่นร่วมกันคือ มีส่วนปากที่แหลม ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังขนาดหนาและเมือกลื่นแทน เหงือกของปลาไหลมอเรย์ยังลดรูป เป็นเพียงรูเล็ก ๆ อยู่ข้างครีบอกที่ลดรูปเหมือนกัน เลยต้องอ้าปากช่วยหายใจเกือบตลอดเวลา คล้ายกับการที่อ้าปากขู่ นอกจากนี้แล้วภายในกรามยังมีกรามขนาดเล็กซ้อนกันอยู่ข้างใน ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงคอหอย แต่จะออกมาซ้อนกับกรามใหญ่เมื่อเวลาอ้าปาก ใช้สำหรับจับและขบกัดกินอาหารไม่ให้หลุด
ปลาไหลมอเรย์เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยการล่าเหยื่อด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางกลิ่น ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ ยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง คล้ายจมูก ซึ่งอวัยวะส่วนนี้มีความไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่าง ๆ เช่น กลิ่นเลือดหรือกลิ่นของสัตว์ที่บาดเจ็บมีบาดแผล อาหารได้แก่ ปลาทั่วไป รวมถึงสัตว์ที่มีกระดองแข็งเช่น กุ้ง, กั้ง, ปู รวมถึงหมึกด้วย
โดยปกติแล้วปลาไหลมอเรย์จะอาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือซอกปะการังในแนวปะการัง โดยยื่นแต่เฉพาะส่วนหัวโผล่ออกมาราว 1/4 ของความยาวลำตัว พร้อมกับอ้าปากส่ายหัว เพื่อป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยและหาเหยื่อ ที่จะออกมาว่ายน้ำนั้นจะเป็นช่วงเวลากลางคืนที่หาอาหาร
ปลาไหลมอเรย์มีกรามที่แข็งแรงและฟันที่แหลมคม แม้จะมีหน้าตาน่ากลัว แต่ไม่ใช่เป็นปลาที่ดุร้าย กลับกันกลับเป็นปลาที่รักสงบ แต่จะจู่โจมใส่ผู้ที่บุกรุก โดยหลายครั้งที่นักประดาน้ำไปเผลอรบกวนโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็อาจถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะถึงขั้นนิ้วขาดได้ เพราะฟันที่แหลมคมและการกัดที่ไม่ปล่อย และอีกช่วงที่ปลาไหลมอเรย์จะดุร้าย คือ ในฤดูผสมพันธุ์ [2]
ปลาไหลมอเรย์ มีทั้งหมดราว 70 ชนิด พบในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก ส่วนใหญ่มีสีสันและลวดลายสวยงามแตกต่างกันออกไปตามแตค่ละชนิดหรือสกุล แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อย ในบางชนิดที่มีขนาดเล็ก จะไม่ความยาวไม่เกิน 2 ฟุตและอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[3] ขณะที่ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไหลมอเรย์ยักษ์(Gymnothorax javanicus) ยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 36 กิโลกรัม[4]
วงศ์ปลาแป้น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาแป้น
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน ถึง ปัจจุบัน[1]
ภาพวาดปลาแป้นกระสวย (Leiognathus splendens)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Percoidei
วงศ์ใหญ่: Percoidea
วงศ์: Leiognathidae
สกุล
ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้นแก้ว
ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาดอกหมาก
ปลาแป้น (อังกฤษ: Ponyfish, Slipmouth, Slimy; วงศ์: Leiognathidae) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leiognathidae ในอันดับปลากะพง (Perciformes)
เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวค่อนข้างสั้น มีเกล็ดแบบสาก ปากเล็กยืดหดได้มากจนดูคล้ายเป็นท่อ ครีบหลังมีอันเดียวมีก้านครีบแข็ง 8-11 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3-5 ครีบหางเว้า [2]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาแป้น ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน ถึง ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ภาพวาดปลาแป้นกระสวย (Leiognathus splendens) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Percoidei |
วงศ์ใหญ่: | Percoidea |
วงศ์: | Leiognathidae |
สกุล | |
ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้นแก้ว
ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาดอกหมาก
ปลาแป้น (อังกฤษ: Ponyfish, Slipmouth, Slimy; วงศ์: Leiognathidae) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leiognathidae ในอันดับปลากะพง (Perciformes)
เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวค่อนข้างสั้น มีเกล็ดแบบสาก ปากเล็กยืดหดได้มากจนดูคล้ายเป็นท่อ ครีบหลังมีอันเดียวมีก้านครีบแข็ง 8-11 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3-5 ครีบหางเว้า [2]
วงศ์ปลาข้างตะเภา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาข้างตะเภา
รูปวาดปลาข้างตะเภาลายโค้ง (Terapon jarbua)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Percoidea
วงศ์: Terapontidae
สกุล
ชื่อพ้อง
- Teraponidae
สำหรับปลาข้างตะเภาอีกวงศ์หนึ่ง ดูที่: วงศ์ปลาครืดคราด
วงศ์ปลาข้างตะเภา หรือ วงศ์ปลาข้างลาย (อังกฤษ: Tigerperch, Croaker, Grunter) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Terapontidae อยู่ในอันดับปลากะพง(Perciformes)
มีลำตัวค่อนข้างสั้นแบบรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากแบนข้าง เกล็ดมีขนาดเล็ก หรือขนาดปานกลาง แบบเกล็ดสาก ปากมีขนาดเล็กเฉียงเล็กน้อย ขอบของกระดูกพรีโอเพอร์คูลัมเป็นหยัก และกระดูกโอเพอร์คูลัมมีก้านครีบแข็ง 2 อัน ครีบหลังทั้งสองติดกันแต่มีรอยเว้าให้เห็นว่าแบ่งออกจากกันได้ ครีบหลังมีก้านครีบแข็งจำนวน 11-14 อัน ครีบหางกลม ตัดตรง หรือเว้าเล็กน้อย ครีบท้องอยู่หลังฐานของครีบอกมีก้านครีบแข็งที่แข็งแรง 1 อัน และก้านครีบอ่อนที่แตกปลาย 5 ก้าน[1]
จัดเป็นปลาขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์อยู่แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ในบางชนิดจะพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดด้วย
มีทั้งหมด 15 สกุล (ดูในตาราง) 50 ชนิด[2] อาทิ ปลาข้างตะเภาลายโค้ง (Terapon jarbua), ปลาข้างตะเภาเกล็ดใหญ่ (T. theraps), ปลาข้างตะเภาเกล็ดเล็ก (T. puta), ปลาข้างลายสี่แถบ(Pelates quadrilineatus) เป็นต้น[3]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาข้างตะเภา | |
---|---|
รูปวาดปลาข้างตะเภาลายโค้ง (Terapon jarbua) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Percoidea |
วงศ์: | Terapontidae |
สกุล | |
ชื่อพ้อง | |
|
สำหรับปลาข้างตะเภาอีกวงศ์หนึ่ง ดูที่: วงศ์ปลาครืดคราด
วงศ์ปลาข้างตะเภา หรือ วงศ์ปลาข้างลาย (อังกฤษ: Tigerperch, Croaker, Grunter) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Terapontidae อยู่ในอันดับปลากะพง(Perciformes)
มีลำตัวค่อนข้างสั้นแบบรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากแบนข้าง เกล็ดมีขนาดเล็ก หรือขนาดปานกลาง แบบเกล็ดสาก ปากมีขนาดเล็กเฉียงเล็กน้อย ขอบของกระดูกพรีโอเพอร์คูลัมเป็นหยัก และกระดูกโอเพอร์คูลัมมีก้านครีบแข็ง 2 อัน ครีบหลังทั้งสองติดกันแต่มีรอยเว้าให้เห็นว่าแบ่งออกจากกันได้ ครีบหลังมีก้านครีบแข็งจำนวน 11-14 อัน ครีบหางกลม ตัดตรง หรือเว้าเล็กน้อย ครีบท้องอยู่หลังฐานของครีบอกมีก้านครีบแข็งที่แข็งแรง 1 อัน และก้านครีบอ่อนที่แตกปลาย 5 ก้าน[1]
จัดเป็นปลาขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์อยู่แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ในบางชนิดจะพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดด้วย
มีทั้งหมด 15 สกุล (ดูในตาราง) 50 ชนิด[2] อาทิ ปลาข้างตะเภาลายโค้ง (Terapon jarbua), ปลาข้างตะเภาเกล็ดใหญ่ (T. theraps), ปลาข้างตะเภาเกล็ดเล็ก (T. puta), ปลาข้างลายสี่แถบ(Pelates quadrilineatus) เป็นต้น[3]
วงศ์ปลาวัวจมูกยาว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาวัวจมูกยาว
ปลาวัวจมูกยาว (Oxymonacanthus longirostris) เป็นปลาที่อยู่ในสกุล Oxymonacanthus
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Tetraodontiformes
วงศ์: Monacanthidae
สกุลและชนิด
26 สกุล 107 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
วงศ์ปลาวัวจมูกยาว หรือ วงศ์ปลาตะไบ (วงศ์: Monacanthidae, อังกฤษ: Filefish, Foolfish, Leatherjacket, Shingle, เกาหลี: 쥐치) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า(Tetraodontiformes) วงศ์หนึ่ง
มีรูปร่างโดยรวม คือ มีผิวหนังที่หยาบ มีเกล็ดเล็กละเอียดปกคลุมทั้งตัว ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน มีก้านครีบหลังก้านแรกเป็นแท่งกระดูกใหญ่ ซึ่งแหลมและแข็งแรงคล้ายเขาสัตว์ ซึ่งสามารถใช้ยกขึ้นเพื่อป้องกันตัวเองได้ ครีบหลังตอนที่ 2 เป็นครีบที่อ่อนนุ่ม ครีบท้องลดรูปไปโดยที่ก้านครีบก้านแรกเป็นเงี่ยงแข็ง ครีบก้นยาว ครีบหางกลมเป็นรูปพัด มีฟันในขากรรไกรด้านนอก 3 ชุด และด้านใน 2 ชุด มีจุดเด่น คือ ในบางสกุลมีจะงอยปากยื่นนยาวออกมาคล้ายท่อหรือหลอด ใช้สำหรับซอกซอนหาอาหารในแนวปะการัง และมีรูปร่างที่เรียวยาวอย่างเห็นได้ชัด
โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก มีความยาวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดยาวได้ถึง 110 เซนติเมตร พบทั้งหมด 26 สกุล ราว 107 ชนิด กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย
เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือตามกอสาหร่ายที่มีกระแสน้ำไหลอ่อน ๆ ในระดับความลึกไม่เกิน 30 เมตร โดยหากินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังเหมือนกับปลาในวงศ์อื่นในอันดับเดียวกัน โดยจะกินปะการังเขากวาง (Acropora spp.) เป็นอาหารหลัก หากินในเวลากลางวัน และนอนหลับในแนวปะการังในเวลากลางคืน มีการแพร่พันธุ์โดยการวางไข่ในแหล่งน้ำกร่อย มีตัวผู้เป็นผู้ดูแล
เป็นปลาที่เป็นที่นิยมชื่นชอบถ่ายรูปของนักดำน้ำอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งไม่มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าวเหมือนปลาในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย[1]
อีกทั้งในอาหารเกาหลี ยังสามารถทำเป็นอาหารรับประทานเล่นได้ด้วย โดยแปรรูปเป็นขนมอบแห้งเรียกว่า "จุยโป" (쥐포)[2] และในอดีตมีการใช้หนังของปลาในวงศ์ปลาวัวจมูกยาวนี้ทำเรือไม้ด้วย
โดยคำว่า Monacanthidae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ในทางวิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Monos" หมายถึง เดี่ยว หรือ อันเดียว ผสมกับคำว่า "Akantha" หมายถึง หนาม[3]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาวัวจมูกยาว | |
---|---|
ปลาวัวจมูกยาว (Oxymonacanthus longirostris) เป็นปลาที่อยู่ในสกุล Oxymonacanthus | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Tetraodontiformes |
วงศ์: | Monacanthidae |
สกุลและชนิด | |
วงศ์ปลาวัวจมูกยาว หรือ วงศ์ปลาตะไบ (วงศ์: Monacanthidae, อังกฤษ: Filefish, Foolfish, Leatherjacket, Shingle, เกาหลี: 쥐치) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า(Tetraodontiformes) วงศ์หนึ่ง
มีรูปร่างโดยรวม คือ มีผิวหนังที่หยาบ มีเกล็ดเล็กละเอียดปกคลุมทั้งตัว ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน มีก้านครีบหลังก้านแรกเป็นแท่งกระดูกใหญ่ ซึ่งแหลมและแข็งแรงคล้ายเขาสัตว์ ซึ่งสามารถใช้ยกขึ้นเพื่อป้องกันตัวเองได้ ครีบหลังตอนที่ 2 เป็นครีบที่อ่อนนุ่ม ครีบท้องลดรูปไปโดยที่ก้านครีบก้านแรกเป็นเงี่ยงแข็ง ครีบก้นยาว ครีบหางกลมเป็นรูปพัด มีฟันในขากรรไกรด้านนอก 3 ชุด และด้านใน 2 ชุด มีจุดเด่น คือ ในบางสกุลมีจะงอยปากยื่นนยาวออกมาคล้ายท่อหรือหลอด ใช้สำหรับซอกซอนหาอาหารในแนวปะการัง และมีรูปร่างที่เรียวยาวอย่างเห็นได้ชัด
โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก มีความยาวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดยาวได้ถึง 110 เซนติเมตร พบทั้งหมด 26 สกุล ราว 107 ชนิด กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย
เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือตามกอสาหร่ายที่มีกระแสน้ำไหลอ่อน ๆ ในระดับความลึกไม่เกิน 30 เมตร โดยหากินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังเหมือนกับปลาในวงศ์อื่นในอันดับเดียวกัน โดยจะกินปะการังเขากวาง (Acropora spp.) เป็นอาหารหลัก หากินในเวลากลางวัน และนอนหลับในแนวปะการังในเวลากลางคืน มีการแพร่พันธุ์โดยการวางไข่ในแหล่งน้ำกร่อย มีตัวผู้เป็นผู้ดูแล
เป็นปลาที่เป็นที่นิยมชื่นชอบถ่ายรูปของนักดำน้ำอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งไม่มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าวเหมือนปลาในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย[1]
อีกทั้งในอาหารเกาหลี ยังสามารถทำเป็นอาหารรับประทานเล่นได้ด้วย โดยแปรรูปเป็นขนมอบแห้งเรียกว่า "จุยโป" (쥐포)[2] และในอดีตมีการใช้หนังของปลาในวงศ์ปลาวัวจมูกยาวนี้ทำเรือไม้ด้วย
โดยคำว่า Monacanthidae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ในทางวิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Monos" หมายถึง เดี่ยว หรือ อันเดียว ผสมกับคำว่า "Akantha" หมายถึง หนาม[3]
วงศ์ปลาดาบ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วงศ์ปลาดาบเงิน)
วงศ์ปลาดาบ
ปลาดาบเงินใหญ่ (Trichiurus lepturus) พร้อมขายในตลาดสด ประเทศญี่ปุ่น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Scombroidei
วงศ์: Trichiuridae
สกุลและวงศ์ย่อย
ความหมายอื่น: ปลาที่มีลักษณะคล้ายปลากระโทง ดูที่ ปลากระโทงดาบ
วงศ์ปลาดาบ หรือ วงศ์ปลาดาบเงิน (อังกฤษ: Cutlassfish, Hairtail, Scabbardfish, Walla Walla; วงศ์: Trichiuridae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Trichiuridae อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes)
มีลำตัวเพรียวยาวเหมือนปลาไหล ด้านข้างแบนมาก ส่วนหัวแหลมลาดต่ำไปข้างหน้า ปากล่างยื่น มีฟันคมแข็งแรงเห็นได้ชัดเจน ลำตัวเรียวแหลมเป็นเส้นไปทางหาง แต่ไม่มีครีบหาง ครีบหลังยาวเกือบตลอดแนวสันหลังยกเว้นใกล้หัว ครีบก้นเป็นเพียงแถวของหนามแข็งขนาดเล็กโผล่จากสันท้องไม่มี ครีบท้อง หรือมีแต่เล็กมาก ไม่มีเกล็ด ผิวหนังมีสีเงินหรือสีเทา
มีทั้งหมด 10 สกุล ประมาณ 40 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ย่อย[1] โดยชนิดที่พบได้บ่อย เช่น ปลาดาบเงินใหญ่ (Trichiurus lepturus) [2]
เป็นปลาเศรษฐกิจจำพวกหนึ่ง สามารถนำมาใช้บริโภคได้ทั้งบริโภคสดและแปรรูปเช่น ทำเป็นลูกชิ้นปลา, ปลาเค็ม, ปลาแห้ง เป็นต้น[3]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วงศ์ปลาดาบเงิน)
วงศ์ปลาดาบ | |
---|---|
ปลาดาบเงินใหญ่ (Trichiurus lepturus) พร้อมขายในตลาดสด ประเทศญี่ปุ่น | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Scombroidei |
วงศ์: | Trichiuridae |
สกุลและวงศ์ย่อย | |
ความหมายอื่น: ปลาที่มีลักษณะคล้ายปลากระโทง ดูที่ ปลากระโทงดาบ
วงศ์ปลาดาบ หรือ วงศ์ปลาดาบเงิน (อังกฤษ: Cutlassfish, Hairtail, Scabbardfish, Walla Walla; วงศ์: Trichiuridae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Trichiuridae อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes)
มีลำตัวเพรียวยาวเหมือนปลาไหล ด้านข้างแบนมาก ส่วนหัวแหลมลาดต่ำไปข้างหน้า ปากล่างยื่น มีฟันคมแข็งแรงเห็นได้ชัดเจน ลำตัวเรียวแหลมเป็นเส้นไปทางหาง แต่ไม่มีครีบหาง ครีบหลังยาวเกือบตลอดแนวสันหลังยกเว้นใกล้หัว ครีบก้นเป็นเพียงแถวของหนามแข็งขนาดเล็กโผล่จากสันท้องไม่มี ครีบท้อง หรือมีแต่เล็กมาก ไม่มีเกล็ด ผิวหนังมีสีเงินหรือสีเทา
มีทั้งหมด 10 สกุล ประมาณ 40 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ย่อย[1] โดยชนิดที่พบได้บ่อย เช่น ปลาดาบเงินใหญ่ (Trichiurus lepturus) [2]
เป็นปลาเศรษฐกิจจำพวกหนึ่ง สามารถนำมาใช้บริโภคได้ทั้งบริโภคสดและแปรรูปเช่น ทำเป็นลูกชิ้นปลา, ปลาเค็ม, ปลาแห้ง เป็นต้น[3]
วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 55.8–0 Ma
อีโอซีน-ปัจจุบัน[1]
ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ (Solenostomus paradoxus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Syngnathiformes
วงศ์: Solenostomidae
สกุล: Solenostomus
Lacépède, 1803
ชนิด
5 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
ชื่อพ้อง[2]
- Solenichthys Bleeker, 1865
- Solenostomatichthys Bleeker, 1875
วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ หรือ วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปลอม (อังกฤษ: False pipefish, Ghost pipefish, Tubemouth fish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathiformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solenostomidae (มาจากภาษากรีกคำว่า solen หมายถึง ท่อ, หลอด หรือช่องทาง กับ στομα (stoma) หมายถึง ปาก)[3]
มีรูปร่างโดยรวม คือ เหมือนกับปลาจิ้มฟันจระเข้ขนาดเล็ก คือมีลำตัวยาวเหมือนกิ่งไม้ ปากยาวเป็นท่อ แต่มีความแตกต่างกัน คือ มีครีบที่พัฒนาให้มีขนาดกว้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว เป็นครีบที่โดดเด่นทั้งครีบข้างลำตัว, ครีบหลัง, ครีบหาง และยังมีครีบพิเศษ คือ ครีบใต้ท้องที่ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ทั่วไปไม่มี ซึ่งครีบขนาดใหญ่นี้สามารถจะหุบเก็บแนบกับลำตัว หรือคลี่กางให้กว้างใหญ่ได้คล้ายกับพัด ที่เมื่อคลี่กางครีบสุดตัวแล้วจะแลดูสวยงาม นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น คือ ตลอดทั่วทั้งตัวมีติ่งเนื้อหรือสีสันที่กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม สำหรับการพรางตัวได้เป็นอย่างดี[4]
เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 15 เซนติเมตร มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหาร เช่น กุ้งขนาดเล็ก มักจะลอยตัวนิ่ง ๆ เพียงลำพังตัวเดียวหรือเป็นคู่ในแนวปะการังหรือกอสาหร่ายในทะเลเขตร้อน ตั้งแต่ทวีปเอเชีย ถึงแอฟริกา[4]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 55.8–0 Ma อีโอซีน-ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ (Solenostomus paradoxus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Syngnathiformes |
วงศ์: | Solenostomidae |
สกุล: | Solenostomus Lacépède, 1803 |
ชนิด | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ หรือ วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปลอม (อังกฤษ: False pipefish, Ghost pipefish, Tubemouth fish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathiformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solenostomidae (มาจากภาษากรีกคำว่า solen หมายถึง ท่อ, หลอด หรือช่องทาง กับ στομα (stoma) หมายถึง ปาก)[3]
มีรูปร่างโดยรวม คือ เหมือนกับปลาจิ้มฟันจระเข้ขนาดเล็ก คือมีลำตัวยาวเหมือนกิ่งไม้ ปากยาวเป็นท่อ แต่มีความแตกต่างกัน คือ มีครีบที่พัฒนาให้มีขนาดกว้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว เป็นครีบที่โดดเด่นทั้งครีบข้างลำตัว, ครีบหลัง, ครีบหาง และยังมีครีบพิเศษ คือ ครีบใต้ท้องที่ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ทั่วไปไม่มี ซึ่งครีบขนาดใหญ่นี้สามารถจะหุบเก็บแนบกับลำตัว หรือคลี่กางให้กว้างใหญ่ได้คล้ายกับพัด ที่เมื่อคลี่กางครีบสุดตัวแล้วจะแลดูสวยงาม นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น คือ ตลอดทั่วทั้งตัวมีติ่งเนื้อหรือสีสันที่กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม สำหรับการพรางตัวได้เป็นอย่างดี[4]
เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 15 เซนติเมตร มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหาร เช่น กุ้งขนาดเล็ก มักจะลอยตัวนิ่ง ๆ เพียงลำพังตัวเดียวหรือเป็นคู่ในแนวปะการังหรือกอสาหร่ายในทะเลเขตร้อน ตั้งแต่ทวีปเอเชีย ถึงแอฟริกา[4]
ปลาไซเชเดลิกา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาไซเชเดลิกา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Lophiiformes
วงศ์: Antennariidae
สกุล: Histiophryne
สปีชีส์: H. psychedelica
ชื่อทวินาม
Histiophryne psychedelica
Pietsch, Arnold, & Hall, 2009
ปลาไซเชเดลิกา (อังกฤษ: Psychedelica frogfish, Ambon frogfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Histiophryne psychedelica (/ฮิส-ทิ-โอฟ-ไรน์-ไซ-เช-เด-ลิ-กา/) อยู่ในวงศ์ปลากบ (Antennariidae)
มีลักษณะทั่วไป คือ มีลายรอบตัวเหมือนม้าลายสีน้ำตาลไหม้ และสีลูกพีช ซึ่งพาดยาวจากดวงตาสีน้ำเงินไปปลายหาง มีขนาดประมาณกำปั้น ร่างกายปกคลุมด้วยผิวหนังย่น ๆ เป็นวุ้นหนา ๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากปะการังที่แหลมคม มีใบหน้าแบนและดวงตามองตรงหน้าได้ อีกทั้งยังมีปากที่อ้าได้กว้าง ที่มีครีบทั้ง 2 ข้างของลำตัว ที่ใช้คืบคลานไปกับพื้นทะเล หรือกระแทกหรือกระเด้งเหมือนลูกบอลไปกับพื้นทะเล จะกางครีบออกแล้วพ่นน้ำออกจากเหงือก เพื่อส่งตัวเองให้พุ่งไปข้างหน้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แปลกประหลาด
พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังบริเวณเกาะอัมบนของอินโดนีเซีย จัดเป็นปลาชนิดใหม่ที่เพิ่งมีการค้นพบและถูกตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 2009 ถูกจำแนกชนิดออกจากปลาชนิดอื่นในสกุล Histiophryne ด้วยความแตกต่างทางดีเอ็นเอ[1]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาไซเชเดลิกา | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Lophiiformes |
วงศ์: | Antennariidae |
สกุล: | Histiophryne |
สปีชีส์: | H. psychedelica |
ชื่อทวินาม | |
Histiophryne psychedelica Pietsch, Arnold, & Hall, 2009 |
ปลาไซเชเดลิกา (อังกฤษ: Psychedelica frogfish, Ambon frogfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Histiophryne psychedelica (/ฮิส-ทิ-โอฟ-ไรน์-ไซ-เช-เด-ลิ-กา/) อยู่ในวงศ์ปลากบ (Antennariidae)
มีลักษณะทั่วไป คือ มีลายรอบตัวเหมือนม้าลายสีน้ำตาลไหม้ และสีลูกพีช ซึ่งพาดยาวจากดวงตาสีน้ำเงินไปปลายหาง มีขนาดประมาณกำปั้น ร่างกายปกคลุมด้วยผิวหนังย่น ๆ เป็นวุ้นหนา ๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากปะการังที่แหลมคม มีใบหน้าแบนและดวงตามองตรงหน้าได้ อีกทั้งยังมีปากที่อ้าได้กว้าง ที่มีครีบทั้ง 2 ข้างของลำตัว ที่ใช้คืบคลานไปกับพื้นทะเล หรือกระแทกหรือกระเด้งเหมือนลูกบอลไปกับพื้นทะเล จะกางครีบออกแล้วพ่นน้ำออกจากเหงือก เพื่อส่งตัวเองให้พุ่งไปข้างหน้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แปลกประหลาด
พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังบริเวณเกาะอัมบนของอินโดนีเซีย จัดเป็นปลาชนิดใหม่ที่เพิ่งมีการค้นพบและถูกตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 2009 ถูกจำแนกชนิดออกจากปลาชนิดอื่นในสกุล Histiophryne ด้วยความแตกต่างทางดีเอ็นเอ[1]
อ้างอิง[แก้]
วงศ์ปลากะรัง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลากะรัง
ปลากะรังหน้างอน (Cromileptes altivelis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Percoidei
วงศ์ใหญ่: Percoidea
วงศ์: Serranidae
Innamura & Yabe, 2002
วงศ์ย่อย
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
- Grammistidae
วงศ์ปลากะรัง หรือ วงศ์ปลาเก๋า (อังกฤษ: Groupers, Sea basses) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง จัดเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ (ดูในเนื้อหา) พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Serranidae
เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัว และครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะโปร่งใส มีเกล็ดขนาดเล็กเป็นแบบเรียบและแบบสาก ปากกว้าง มีฟันเล็กบนขากรรไกร เพดานปาก มีฟันเขี้ยวด้านหน้า ครีบท้องมีตำแหน่งอยู่ใต้หรืออยู่หน้าหรืออยู่หลังครีบอก[1]
มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 หรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม คือ ปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในวงศ์นี้
ในบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย เช่น ปลากะรังจุดน้ำตาล (E. malabaricus) ในวัยเล็กจะเป็นเพศเมีย แต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะกลายเป็นเพศผู้
สำหรับปลาที่พบในทะเล มักมีพฤติกรรมชอบตามลำพังหรือเป็นคู่เพียงไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหากินในเวลากลางคืน สามารถพบได้จนถึงบริเวณปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยหลายชนิดนิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ (E. tauvina) หรือ ปลาเก๋าเสือ (E. fuscoguttatus) เป็นต้น จึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาอาชีพ โดยนิยมเลี้ยงในกระชัง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลากะรัง | |
---|---|
ปลากะรังหน้างอน (Cromileptes altivelis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Percoidei |
วงศ์ใหญ่: | Percoidea |
วงศ์: | Serranidae Innamura & Yabe, 2002 |
วงศ์ย่อย | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
วงศ์ปลากะรัง หรือ วงศ์ปลาเก๋า (อังกฤษ: Groupers, Sea basses) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง จัดเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ (ดูในเนื้อหา) พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Serranidae
เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัว และครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะโปร่งใส มีเกล็ดขนาดเล็กเป็นแบบเรียบและแบบสาก ปากกว้าง มีฟันเล็กบนขากรรไกร เพดานปาก มีฟันเขี้ยวด้านหน้า ครีบท้องมีตำแหน่งอยู่ใต้หรืออยู่หน้าหรืออยู่หลังครีบอก[1]
มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 หรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม คือ ปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในวงศ์นี้
ในบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย เช่น ปลากะรังจุดน้ำตาล (E. malabaricus) ในวัยเล็กจะเป็นเพศเมีย แต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะกลายเป็นเพศผู้
สำหรับปลาที่พบในทะเล มักมีพฤติกรรมชอบตามลำพังหรือเป็นคู่เพียงไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหากินในเวลากลางคืน สามารถพบได้จนถึงบริเวณปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยหลายชนิดนิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ (E. tauvina) หรือ ปลาเก๋าเสือ (E. fuscoguttatus) เป็นต้น จึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาอาชีพ โดยนิยมเลี้ยงในกระชัง
วงศ์ปลาตาเดียว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาตาเดียว
ภาพวาดปลาตาเดียว (P. erumei) เป็นชนิดที่เป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญของไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Pleuronectiformes
อันดับย่อย: Psettodoidei
วงศ์: Psettodidae
สกุล: Psettodes
Bennett, 1831
ชนิด
3 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
ชื่อพ้อง
- Sphagomorus Cope, 1867
วงศ์ปลาตาเดียว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psettodidae; อังกฤษ: Spiny turbot, Turbot, Psettodid) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาตาเดียว (Pleuronectiformes)
มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวค่อนข้างสั้น แบนข้างมาก จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังตา ตาอาจอยู่ทางซีกซ้ายหรือขวาก็ได้ ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ปากกว้างมีฟันเขี้ยว มีฟันบนเพดานปาก กรามล่างยื่นยาวกว่ากรามบน ครีบหางเว้าเล็กน้อยเป็น 2 หยัก[1]
พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามพื้นน้ำของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแอตแลนติก มีทั้งหมดเพียง 3 ชนิด และ 1 สกุล คือ Psettodes[2] โดยมีชนิดหนึ่งนั้นเป็นปลาเศรษฐกิจที่พบได้บ่อยและเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย[3]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาตาเดียว | |
---|---|
ภาพวาดปลาตาเดียว (P. erumei) เป็นชนิดที่เป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญของไทย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Pleuronectiformes |
อันดับย่อย: | Psettodoidei |
วงศ์: | Psettodidae |
สกุล: | Psettodes Bennett, 1831 |
ชนิด | |
ชื่อพ้อง | |
|
วงศ์ปลาตาเดียว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psettodidae; อังกฤษ: Spiny turbot, Turbot, Psettodid) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาตาเดียว (Pleuronectiformes)
มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวค่อนข้างสั้น แบนข้างมาก จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังตา ตาอาจอยู่ทางซีกซ้ายหรือขวาก็ได้ ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ปากกว้างมีฟันเขี้ยว มีฟันบนเพดานปาก กรามล่างยื่นยาวกว่ากรามบน ครีบหางเว้าเล็กน้อยเป็น 2 หยัก[1]
พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามพื้นน้ำของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแอตแลนติก มีทั้งหมดเพียง 3 ชนิด และ 1 สกุล คือ Psettodes[2] โดยมีชนิดหนึ่งนั้นเป็นปลาเศรษฐกิจที่พบได้บ่อยและเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย[3]
วงศ์ปลามังกรน้อย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลามังกรน้อย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียส-ปัจจุบัน
ปลาแมนดารินตัวผู้ (Synchiropus splendidus)
ปลาแมนดารินจุดขนาดเล็ก (S. picturatus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Callionymoidei
วงศ์: Callionymidae
สกุล
สำหรับปลาน้ำจืด ดูที่ Aplocheilus lineatus
วงศ์ปลามังกรน้อย (อังกฤษ: Dragonet, Scotter blenny, ชื่อวิทยาศาสตร์: Callionymidae) เป็นวงศ์ปลาทะเลขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes)
มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกัน แต่วงศ์ปลามังกรน้อยไม่จัดอยู่ในวงศ์ปลาบู่ แต่กลับมีความใกล้เคียงกับปลาในวงศ์ปลามังกรน้อยลาด(Draconettidae) มากกว่า
โดยคำว่า "Callionymidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "Kallis" ซึ่งแปลว่า "สวย" และ "onyma" แปลว่า "ชื่อ"
เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ราว 10 เซนติเมตร โดยชนิดที่มีความยาวที่สุด 17 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของอินโด-แปซิฟิก หากินโดยใช้ปากที่มีขนาดเล็กคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหากินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยจะหากินในเวลากลางคืนเริ่มตั้งแต่พลบค่ำ ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ
มีรูปร่างโดยรวม คือ มีส่วนหัวขนาดโต ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ มีครีบต่าง ๆ ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางและครีบท้อง ซึ่งแข็งแรงมาก มีพฤติกรรมใช้ครีบท้องนี้คืบคลานหาอาหารตามพื้นทรายมากกว่าจะว่ายน้ำ โดยมีครีบหางเป็นเครื่องบังคับทิศทาง มีเงี่ยงครีบหลัง 4 ก้าน มีก้านครีบอ่อน 6-11 ก้าน ก้านครีบก้น 4-10 ก้าน มีเส้นข้างลำตัว มีกระดูกเรเดียส 3 ชิ้น ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ ตัวผู้มีกระโดงครีบหลังชี้ยาวออกมาเห็นเป็นจุดเด่น ขณะที่ตัวเมียไม่มี โดยมากแล้วมีสีสันและลวดลายสดใสสวยงามมาก
มีพฤติกรรมการวางไข่ โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปรอบ ๆ ตัวเมีย พร้อมเบ่งสีและครีบต่าง ๆ เพื่อเกี้ยวพา เมื่อตัวเมียปล่อยไข่ออกมาแล้ว ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมทันที ไข่จะลอยไปตามกระแสน้ำ ตัวอ่อนใช้ชีวิตเบื้องต้นเป็นเหมือนแพลงก์ตอน ในบางชนิดมีรายงานว่ามีพิษด้วย
ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแล้ว 18 สกุล[1] (ดูในตาราง) ราว 130 ชนิด และเนื่องจากเป็นปลาสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามในตู้ปะการัง ซึ่งบางชนิดสามารถเพาะเลี้ยงในที่เลี้ยงได้แล้ว อาทิ ปลาแมนดาริน (Synchiropus splendidus), ปลาแมนดารินจุด (S. picturatus) เป็นต้น[2]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลามังกรน้อย ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียส-ปัจจุบัน | |
---|---|
ปลาแมนดารินตัวผู้ (Synchiropus splendidus) | |
ปลาแมนดารินจุดขนาดเล็ก (S. picturatus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Callionymoidei |
วงศ์: | Callionymidae |
สกุล | |
สำหรับปลาน้ำจืด ดูที่ Aplocheilus lineatus
วงศ์ปลามังกรน้อย (อังกฤษ: Dragonet, Scotter blenny, ชื่อวิทยาศาสตร์: Callionymidae) เป็นวงศ์ปลาทะเลขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes)
มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกัน แต่วงศ์ปลามังกรน้อยไม่จัดอยู่ในวงศ์ปลาบู่ แต่กลับมีความใกล้เคียงกับปลาในวงศ์ปลามังกรน้อยลาด(Draconettidae) มากกว่า
โดยคำว่า "Callionymidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "Kallis" ซึ่งแปลว่า "สวย" และ "onyma" แปลว่า "ชื่อ"
เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ราว 10 เซนติเมตร โดยชนิดที่มีความยาวที่สุด 17 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของอินโด-แปซิฟิก หากินโดยใช้ปากที่มีขนาดเล็กคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหากินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยจะหากินในเวลากลางคืนเริ่มตั้งแต่พลบค่ำ ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ
มีรูปร่างโดยรวม คือ มีส่วนหัวขนาดโต ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ มีครีบต่าง ๆ ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางและครีบท้อง ซึ่งแข็งแรงมาก มีพฤติกรรมใช้ครีบท้องนี้คืบคลานหาอาหารตามพื้นทรายมากกว่าจะว่ายน้ำ โดยมีครีบหางเป็นเครื่องบังคับทิศทาง มีเงี่ยงครีบหลัง 4 ก้าน มีก้านครีบอ่อน 6-11 ก้าน ก้านครีบก้น 4-10 ก้าน มีเส้นข้างลำตัว มีกระดูกเรเดียส 3 ชิ้น ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ ตัวผู้มีกระโดงครีบหลังชี้ยาวออกมาเห็นเป็นจุดเด่น ขณะที่ตัวเมียไม่มี โดยมากแล้วมีสีสันและลวดลายสดใสสวยงามมาก
มีพฤติกรรมการวางไข่ โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปรอบ ๆ ตัวเมีย พร้อมเบ่งสีและครีบต่าง ๆ เพื่อเกี้ยวพา เมื่อตัวเมียปล่อยไข่ออกมาแล้ว ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมทันที ไข่จะลอยไปตามกระแสน้ำ ตัวอ่อนใช้ชีวิตเบื้องต้นเป็นเหมือนแพลงก์ตอน ในบางชนิดมีรายงานว่ามีพิษด้วย
ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแล้ว 18 สกุล[1] (ดูในตาราง) ราว 130 ชนิด และเนื่องจากเป็นปลาสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามในตู้ปะการัง ซึ่งบางชนิดสามารถเพาะเลี้ยงในที่เลี้ยงได้แล้ว อาทิ ปลาแมนดาริน (Synchiropus splendidus), ปลาแมนดารินจุด (S. picturatus) เป็นต้น[2]
อ้างอิง[แก้]
ลาแซลมอน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาแซลมอน [1] หรือ ปลาแซมอน [1] (อังกฤษ: Salmon; /ˈsæmən/) เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลที่ว่ายเข้าสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ โดยคำว่า "แซลมอน" มาจากภาษาละตินคำว่าSalmo ซึ่งมาจากคำว่า Salire หมายถึง "ที่จะกระโดด" [2]
ปลาแซลมอน คือ ปลาที่อยู่ในอันดับ Salmoniformes และวงศ์ Salmonidae พบกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกทางเหนือ คือ อเมริกาเหนือ, อลาสกา, ไซบีเรีย, ยุโรปเหนือ, เอเชียเหนือ และเอเชียตะวันออก ปลาแซลมอนผสมพันธุ์ในน้ำจืดแต่ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร (ปลาน้ำกร่อย) มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ ปลาแซลมอนวางไข่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในทะเลสาบน้ำจืดหรือแม่น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูง เท่านั้นโดยปลาแซลมอนเพศเมียจะขุดรัง ด้วยปลายหางและวางไข่ หลังจากนั้นตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มมาปฏิสนธิกับไข่ ตัวเมียจะใช้หางกลบไข่เพื่อให้ไข่ไม่ถูกกระแสน้ำพัดพาไปแล้วลูกปลาแซลมอนจะว่ายตามกระแสน้ำออกสู่ทะเลในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน เมื่อออกจากไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะอพยพไปสู่มหาสมุทรซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และเจริญเติบโต และเมื่อถึงฤดูวางไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะกลับไปวางไข่ที่บ้านเกิดของตัวงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีศึกษาพบว่าปลาแซลมอนที่ถูกวิจัยทั้งหมดอพยพกลับมาเพียงร้อยละ 10 ส่วนที่เหลือสูญหายในทะเล สิ่งที่นำทางลูกปลาแซลมอนให้กลับมาวางไข่ได้ถูกต้อง คือกลิ่นเฉพาะของแม่น้ำที่มันเกิดและพฤติกรรมแบบฝังใจในลูกปลาแซลมอนที่เกิดขึ้นทันทีที่มันฟักออกจากไข่ เป็นสิ่งที่ใช้นำทางปลาแซลมอนที่โตเต็มที่จากมหาสมุทรไปยังที่ที่ใช้วางไข่ สารประกอบของกลิ่นนั้นเป็นสารอินทรีย์ ระเหย และคุณสมบัติทางเคมียังไม่ทราบแน่ชัด ขณะนี้ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่า ปลาแซลมอนหาทางมายังปากน้ำได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ในการนำทางมาจากทะเล การทดลองล่าสุดได้ให้ข้อคิดว่า ปลาตัวเต็มวัยได้รับการชักนำจากปรากฏการบนท้องฟ้าเช่น มีดวงดาวเป็นเครื่องนำทางหรือทิศทางหรือตำแหน่งของดวงอาทิตย์เป็นต้นในกรณีนี้ปลาแซลมอนจะมีความสามารถในการจับเวลาเสมือนหนึ่งเป็นนาฬิกาชีวภาพ ดังที่พบในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ[3]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาแซลมอน [1] หรือ ปลาแซมอน [1] (อังกฤษ: Salmon; /ˈsæmən/) เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลที่ว่ายเข้าสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ โดยคำว่า "แซลมอน" มาจากภาษาละตินคำว่าSalmo ซึ่งมาจากคำว่า Salire หมายถึง "ที่จะกระโดด" [2]
ปลาแซลมอน คือ ปลาที่อยู่ในอันดับ Salmoniformes และวงศ์ Salmonidae พบกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกทางเหนือ คือ อเมริกาเหนือ, อลาสกา, ไซบีเรีย, ยุโรปเหนือ, เอเชียเหนือ และเอเชียตะวันออก ปลาแซลมอนผสมพันธุ์ในน้ำจืดแต่ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร (ปลาน้ำกร่อย) มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ ปลาแซลมอนวางไข่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในทะเลสาบน้ำจืดหรือแม่น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูง เท่านั้นโดยปลาแซลมอนเพศเมียจะขุดรัง ด้วยปลายหางและวางไข่ หลังจากนั้นตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มมาปฏิสนธิกับไข่ ตัวเมียจะใช้หางกลบไข่เพื่อให้ไข่ไม่ถูกกระแสน้ำพัดพาไปแล้วลูกปลาแซลมอนจะว่ายตามกระแสน้ำออกสู่ทะเลในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน เมื่อออกจากไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะอพยพไปสู่มหาสมุทรซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และเจริญเติบโต และเมื่อถึงฤดูวางไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะกลับไปวางไข่ที่บ้านเกิดของตัวงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีศึกษาพบว่าปลาแซลมอนที่ถูกวิจัยทั้งหมดอพยพกลับมาเพียงร้อยละ 10 ส่วนที่เหลือสูญหายในทะเล สิ่งที่นำทางลูกปลาแซลมอนให้กลับมาวางไข่ได้ถูกต้อง คือกลิ่นเฉพาะของแม่น้ำที่มันเกิดและพฤติกรรมแบบฝังใจในลูกปลาแซลมอนที่เกิดขึ้นทันทีที่มันฟักออกจากไข่ เป็นสิ่งที่ใช้นำทางปลาแซลมอนที่โตเต็มที่จากมหาสมุทรไปยังที่ที่ใช้วางไข่ สารประกอบของกลิ่นนั้นเป็นสารอินทรีย์ ระเหย และคุณสมบัติทางเคมียังไม่ทราบแน่ชัด ขณะนี้ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่า ปลาแซลมอนหาทางมายังปากน้ำได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ในการนำทางมาจากทะเล การทดลองล่าสุดได้ให้ข้อคิดว่า ปลาตัวเต็มวัยได้รับการชักนำจากปรากฏการบนท้องฟ้าเช่น มีดวงดาวเป็นเครื่องนำทางหรือทิศทางหรือตำแหน่งของดวงอาทิตย์เป็นต้นในกรณีนี้ปลาแซลมอนจะมีความสามารถในการจับเวลาเสมือนหนึ่งเป็นนาฬิกาชีวภาพ ดังที่พบในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ[3]
วงศ์ปลากระบอก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปลากระบอก)
วงศ์ปลากระบอก
ปลากระบอกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Mugiliformes
วงศ์: Mugilidae
สกุล
17 สกุล ดูในตาราง
วงศ์ปลากระบอก (อังกฤษ: Mullet, วงศ์: Mugilidae (/มู-จิ-ลิ-ดี/)) เป็นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับ Mugiliformes นับเป็นวงศ์เดียวที่อยู่ในอันดับนี้[1]
ปลากระบอกมีรูปร่างโดยรวมเรียวยาวค่อนข้างกลมเป็นทรงกระบอก ปากเล็ก มีครีบหลัง 2 ตอน เป็นปลาที่พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล มีตาทรงกลมโต พบทั่วไปในทั้งในทวีปยุโรป,อเมริกาเหนือ และทวีปเอเชีย เช่น อินโด-แปซิฟิก, ฟิลิปปิน และออสเตรเลีย มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไว เกล็ดโดยมากเป็นสีเงินเหลือบเขียวหรือเทาขนาดใหญ่
ปลากระบอก สามารถแบ่งออกได้เป็นสกุล 17 สกุล ประมาณ 80 ชนิด โดยมีชนิดที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักกันดี อาทิ ปลากระบอกท่อนใต้ (Liza vaigiensis), ปลากระบอกดำ (L. parsia), ปลากระบอกขาว (L. seheli) เป็นต้น
เป็นปลาที่เป็นที่นิยมในการตกปลา และเป็นปลาเศรษฐกิจ มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในในเชิงการประมง[2]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปลากระบอก)
วงศ์ปลากระบอก | |
---|---|
ปลากระบอกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Mugiliformes |
วงศ์: | Mugilidae |
สกุล | |
วงศ์ปลากระบอก (อังกฤษ: Mullet, วงศ์: Mugilidae (/มู-จิ-ลิ-ดี/)) เป็นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับ Mugiliformes นับเป็นวงศ์เดียวที่อยู่ในอันดับนี้[1]
ปลากระบอกมีรูปร่างโดยรวมเรียวยาวค่อนข้างกลมเป็นทรงกระบอก ปากเล็ก มีครีบหลัง 2 ตอน เป็นปลาที่พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล มีตาทรงกลมโต พบทั่วไปในทั้งในทวีปยุโรป,อเมริกาเหนือ และทวีปเอเชีย เช่น อินโด-แปซิฟิก, ฟิลิปปิน และออสเตรเลีย มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไว เกล็ดโดยมากเป็นสีเงินเหลือบเขียวหรือเทาขนาดใหญ่
ปลากระบอก สามารถแบ่งออกได้เป็นสกุล 17 สกุล ประมาณ 80 ชนิด โดยมีชนิดที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักกันดี อาทิ ปลากระบอกท่อนใต้ (Liza vaigiensis), ปลากระบอกดำ (L. parsia), ปลากระบอกขาว (L. seheli) เป็นต้น
เป็นปลาที่เป็นที่นิยมในการตกปลา และเป็นปลาเศรษฐกิจ มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในในเชิงการประมง[2]
วงศ์ปลาผีเสื้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาผีเสื้อ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 72–0 Ma
ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus)
ปลาโนรีครีบยาว (Heniochus acuminatus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้นใหญ่: Osteichthyes
ชั้น: Actinopterygii
ชั้นย่อย: Neopterygii
ชั้นฐาน: Teleostei
อันดับใหญ่: Acanthopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Percoidei
วงศ์ใหญ่: Percoidea
วงศ์: Chaetodontidae
สกุล
ชื่อพ้อง
- Chaetodontinae
สำหรับปลาน้ำจืด ดูที่ ปลาผีเสื้อ (น้ำจืด)
วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, อังกฤษ: Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็งอันดับปลากะพง (Perciformes)
ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค
เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง
มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด
ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก[1]
สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น[2] โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย
ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน[3]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาผีเสื้อ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 72–0 Ma | |
---|---|
ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus) | |
ปลาโนรีครีบยาว (Heniochus acuminatus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้นใหญ่: | Osteichthyes |
ชั้น: | Actinopterygii |
ชั้นย่อย: | Neopterygii |
ชั้นฐาน: | Teleostei |
อันดับใหญ่: | Acanthopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Percoidei |
วงศ์ใหญ่: | Percoidea |
วงศ์: | Chaetodontidae |
สกุล | |
ชื่อพ้อง | |
|
สำหรับปลาน้ำจืด ดูที่ ปลาผีเสื้อ (น้ำจืด)
วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, อังกฤษ: Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็งอันดับปลากะพง (Perciformes)
ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค
เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง
มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด
ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก[1]
สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น[2] โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย
ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน[3]
วงศ์ปลากระเบนธง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลากระเบนธง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเทเชียสตอนปลาย-ปัจจุบัน
ปลากระเบนชายธง (Pastinachus sephen)
ปลากระเบนทอง (Taeniura lymma)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Batoidea
อันดับ: Myliobatiformes
อันดับย่อย: Dasyatoidea
วงศ์: Dasyatidae
Jordan, 1888
สกุล
7 สกุล ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง
- Dasyatinae[1]
วงศ์ปลากระเบนธง (อังกฤษ: Whipray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dasyatidae (/แด-ซี-แอท-อิ-ดี้/)
พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง
มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงจำนวนมากเรียงติดต่อกันเป็นแถว ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง
มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น (พบมากสุดถึง 4 ชิ้น) ที่อาจยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร[2] เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 และเมื่อหักไปแล้วงอกใหม่ได้ มักมีผู้ถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะถูกเข้าโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด เพราะมีพฤติกรรมมักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาและเงี่ยงหางเท่านั้น[2]จากการที่มีตาอยู่ด้านบนแต่ปากอยู่ด้านล่างทำให้ไม่สามารถมองเห็นอาหารได้เวลาจะกิน จึงมีอวัยวะรับกลิ่นและอวัยวะรับคลื่นไฟฟ้าในการบอกตำแหน่งของอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยมีการสืบพันธุ์ในฤดูหนาว ตัวผู้จะว่ายน้ำตามประกบตัวเมียอย่างใกล้ชิดและมักกัดบริเวณขอบลำตัวของตัวเมีย เมื่อจะผสมพันธุ์ตัวผู้จะว่ายไปอยู่ด้านบนแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวเมีย โดยส่วนมากจะออกลูกคราวละ 5-10 ตัว [2]ในเลือดของปลาวงศ์นี้มีสารประกอบของยูเรีย จึงมีกลิ่นคล้ายปัสสาวะ[3]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลากระเบนธง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเทเชียสตอนปลาย-ปัจจุบัน | |
---|---|
ปลากระเบนชายธง (Pastinachus sephen) | |
ปลากระเบนทอง (Taeniura lymma) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับใหญ่: | Batoidea |
อันดับ: | Myliobatiformes |
อันดับย่อย: | Dasyatoidea |
วงศ์: | Dasyatidae Jordan, 1888 |
สกุล | |
ชื่อพ้อง | |
|
วงศ์ปลากระเบนธง (อังกฤษ: Whipray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dasyatidae (/แด-ซี-แอท-อิ-ดี้/)
พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง
มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงจำนวนมากเรียงติดต่อกันเป็นแถว ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง
มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น (พบมากสุดถึง 4 ชิ้น) ที่อาจยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร[2] เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 และเมื่อหักไปแล้วงอกใหม่ได้ มักมีผู้ถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะถูกเข้าโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด เพราะมีพฤติกรรมมักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาและเงี่ยงหางเท่านั้น[2]จากการที่มีตาอยู่ด้านบนแต่ปากอยู่ด้านล่างทำให้ไม่สามารถมองเห็นอาหารได้เวลาจะกิน จึงมีอวัยวะรับกลิ่นและอวัยวะรับคลื่นไฟฟ้าในการบอกตำแหน่งของอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยมีการสืบพันธุ์ในฤดูหนาว ตัวผู้จะว่ายน้ำตามประกบตัวเมียอย่างใกล้ชิดและมักกัดบริเวณขอบลำตัวของตัวเมีย เมื่อจะผสมพันธุ์ตัวผู้จะว่ายไปอยู่ด้านบนแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวเมีย โดยส่วนมากจะออกลูกคราวละ 5-10 ตัว [2]ในเลือดของปลาวงศ์นี้มีสารประกอบของยูเรีย จึงมีกลิ่นคล้ายปัสสาวะ[3]
พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง
มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงจำนวนมากเรียงติดต่อกันเป็นแถว ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง
มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น (พบมากสุดถึง 4 ชิ้น) ที่อาจยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร[2] เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 และเมื่อหักไปแล้วงอกใหม่ได้ มักมีผู้ถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะถูกเข้าโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด เพราะมีพฤติกรรมมักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาและเงี่ยงหางเท่านั้น[2]จากการที่มีตาอยู่ด้านบนแต่ปากอยู่ด้านล่างทำให้ไม่สามารถมองเห็นอาหารได้เวลาจะกิน จึงมีอวัยวะรับกลิ่นและอวัยวะรับคลื่นไฟฟ้าในการบอกตำแหน่งของอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยมีการสืบพันธุ์ในฤดูหนาว ตัวผู้จะว่ายน้ำตามประกบตัวเมียอย่างใกล้ชิดและมักกัดบริเวณขอบลำตัวของตัวเมีย เมื่อจะผสมพันธุ์ตัวผู้จะว่ายไปอยู่ด้านบนแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวเมีย โดยส่วนมากจะออกลูกคราวละ 5-10 ตัว [2]ในเลือดของปลาวงศ์นี้มีสารประกอบของยูเรีย จึงมีกลิ่นคล้ายปัสสาวะ[3]
ปลาน้ำเค็ม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม , ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย
โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ
นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่น Perciformes จะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว่า [1]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น