วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ปลาออร์ฟิช หรือ ปลาพญานาค
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก strangesounds.org
นักชีววิทยา สามารถจับภาพ ปลาพญานาค หรือปลาออร์ฟิช ยาว 8 ฟุต (ราว 2.4 เมตร) ขณะกำลังว่ายน้ำได้ จากใต้ทะเลลึกนอกชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เว็บไซต์เดลี่เมลของอังกฤษ มีรายงานว่า นักชีววิทยาทางทะเลของมหาวิทยาลัยลุยเซียน่า รัฐลุยเซียนา สหรัฐฯ สามารถจับภาพของปลาออร์ฟิช ปลาลึกลับแห่งทะเลลึกขณะกำลังว่ายน้ำได้ ด้วยกล้องสังเกตการณ์ใต้ทะเลที่ควบคุมด้วยรีโมทของบริษัทขุดเจาะนอกชายฝั่งในอ่าวเม็กซิโก
สำหรับการค้นพบนี้เป็นความสำเร็จอย่างยิ่งหลังจากที่ทีมนักชีววิทยาได้พยายามน้ำกล้องสังเกตการณ์ใต้ทะเลออกค้นหาปลาออร์ฟิชถึง 5 ครั้ง ในระหว่างปี พ.ศ.2551-2554 โดยปลาออร์ฟิชที่ถูกจับภาพได้ตัวนี้น่าจะมีความยาวอยู่ที่ 8 ฟุต (ราว 2.4 เมตร) ซึ่งเชื่อกันว่าปลาสายพันธุ์นี้น่าจะสามารถเติบโตจนมีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 50 ฟุต (ราว 15.2 เมตร) และมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 600 ปอนด์ (ราว 272 กิโลกรัม) เลยทีเดียว
ทั้งนี้ ปลาออร์ฟิชถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2321 โดย ปีเตอร์แอสคาเนียส นักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ และในเวลาต่อมามันก็กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ คิงออฟเฮอร์ริ่ง รวมทั้งชื่อแปซิฟอกออร์ฟิช ปลาริบบิ้น หรือแม้แต่ปลาพญานาค ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ไม่เคยมีผู้ใดสามารถจับภาพของมันขณะที่ยังว่ายน้ำอยู่ได้มาก่อนนั้นก็เนื่องจากปลาชนิดนี้เป็นสัตว์ทะเลน้ำลึก ที่อาศัยอยู่ในระดับความลึกระหว่าง 0.2-1 กิโลเมตรนั่นเอง
และจากความลึกลับประกอบกับลักษณะอันแปลกประหลาดของปลาชนิดนี้นี่เอง ที่ทำให้มันกลายมาเป็นสัตว์ในตำนานของหลาย ๆ พื้นที่ ดังเช่นในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงของไทย ที่มีผู้เข้าใจผิดว่าปลาออร์ฟิชนั้นคือพญานาค จากลักษณะภายนอกและความยาวที่คล้ายคลึงกับสัตว์ในตำนานความเชื่อ
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ปลาออร์ฟิชก็เคยถูกจับได้มาหลายครั้งแล้ว โดยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ปลาออร์ฟิชซึ่งมีความยาว 15 ฟุต (ราว 4.6 เมตร) ก็ถูกจับบริเวณนอกชายฝั่งคาโบ ซาน ลูคัส และได้ตกเป็นที่สนใจของคนหมู่มาก ก่อนที่ซากของมันจึงถูกนำไปศึกษาทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ปลาเก๋าเสือ
ปลาเก๋าเสือ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาเก๋าเสือ | |
---|---|
ภาพวาดปลาเก๋าเสือ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Serranidae |
สกุล: | Epinephelus |
สปีชีส์: | E. fuscoguttatus |
ชื่อทวินาม | |
Epinephelus fuscoguttatus (Forsskål, 1775) |
ปลาเก๋าเสือ หรือ ปลากะรังลายน้ำตาล (อังกฤษ: Brown-marbled grouper, Tiger grouper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus fuscoguttatus)
เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลากะรังทั่วไป สีพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวและแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ไปจนถึงครีบต่าง ๆ และครีบหาง[2]
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 120 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดงในแอฟริกาตะวันออก, อ่าวเปอร์เซีย,ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, นิวแคลิโดเนีย, อินโด-แปซิฟิก จนถึงออสเตรเลีย
เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีการเพาะเลี้ยงอย่างปลากะรังชนิดอื่น ๆ โดยมีราคาขายตัวละ 400-600 บาท[3] รวมถึงมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาหมอทะเล หรือปลาเก๋ายักษ์ (E. lanceolatus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันแต่ตัวใหญ่กว่า เพื่อให้ได้ปลาลูกผสมที่เรียกว่า "ปลาเก๋ามุกมังกร" ที่เนื้อมีความนุ่มอร่อยกว่า และราคาถูกกว่า [4]
ปลานโปเลียน
ปลานโปเลียน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลานโปเลียน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Labridae |
สกุล: | Cheilinus |
สปีชีส์: | C. undulatus |
ชื่อทวินาม | |
Cheilinus undulatus Rüppell, 1835 | |
ชื่อพ้อง | |
ปลานโปเลียน หรือ ปลานกขุนทองหัวโหนก (อังกฤษ: Napoleonfish, Humphead wrasse, Mauri wrase) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cheilinus undulatus จัดอยู่ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae)
ลักษณะ[แก้]
มีรูปร่างและลักษณะคล้ายปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด เมื่อยังเล็กมีลายแถบสองเส้นที่คาดผ่านตาเฉียงขึ้น เมื่อโตขึ้นลายแถบอันนี้จะหายไป สีพื้นลำตัวจะเข้มขึ้น ในปลาเพศผู้มีสีเหลือบเขียวอมน้ำเงิน มีลายสีชมพูปรากฏเป็นจุดเป็นเส้นเล็ก ๆ แทรกตามเกล็ด ซึ่งมีความแวววาวเป็นเลื่อมมัน ขณะที่ปลาเพศเมียจะมีลวดลายที่อ่อนกว่า ซึ่งปลาทั้งสองเพศจะมีจุดเด่นที่สังเกตได้ง่าย คือ ส่วนหัวที่โหนกนูนเหมือนสันหรือนอเห็นอย่างชัดเจน ซึ่งจะปรากฏเมื่อปลามีความยาวได้ 2-3 ฟุต ขอบหางมีสีเขียวอมเหลือง มีดวงตาที่สามารถกลอกกลิ้งไปมาได้
จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยเต็มที่อาจยาวได้ถึงเกือบ 3 เมตร และมีน้ำหนักถึง 190 กิโลกรัม
ที่อยู่[แก้]
เป็นปลาที่อาศัยหากินอยู่ในแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อน เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยกินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร
สำหรับในน่านน้ำไทย พบแพร่กระจายอยู่แถบทะเลอันดามัน พบตามบริเวณกองหิน แนวปะการังของ เกาะสุรินทร์, หมู่เกาะสิมิลัน ในความลึกประมาณ 3-30 เมตร [2]
ชื่อเรียกอื่น[แก้]
เหตุที่ได้ชื่อว่า "นโปเลียน" ด้วยเหตุที่ส่วนหัวที่โหนกนูน โดยเฉพาะในปลาเพศผู้ที่จะโหนกกว่าปลาเพศเมีย แลดูคล้ายหมวกของจักรพรรดินโปเลียน[3]
เป็นปลาที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยปลาที่ขายกันในตลาดปลาสวยงาม มักเป็นปลาวัยอ่อนที่มีความยาว 2-3 นิ้ว และจับมาจากฝั่งอ่าวไทยเป็นส่วนใหญ่[3]
อ้างอิง
ปลาเกราะ
ปลาไหลกัลเปอร์
ปลาไหลกัลเปอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาไหลกัลเปอร์ | |
---|---|
ชนิด S. flagellum ภาพจากหน้า 49 ของหนังสือOceanic Ichthyology โดย จอร์จ บราวน์ กูด และทาร์ลทอน ฮอฟฟ์แมน บีน, ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1896 | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Saccopharyngiformes |
อันดับย่อย: | Saccopharyngoidei |
วงศ์: | Saccopharyngidae |
สกุล: | Saccopharynx Cuvier, 1829 |
ชนิด | |
ปลาไหลกัลเปอร์ (อังกฤษ: Gulper, Gulper eel) เป็นวงศ์และสกุลของปลาทะเลน้ำลึกวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Saccopharyngidae (มาจากภาษาละติน "saccus" หมายถึง "ถุง" และภาษากรีก φάρυγξ, หมายถึง "คอหอย")
ปลาไหลกัลเปอร์ เป็นปลาที่มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหล ลำตัวไม่มีเกล็ด มีลักษณะเด่น คือ มีปากกว้างใหญ่ มีส่วนหัวที่ใหญ่กว่า 1 ใน 4 ของลำตัว ภายในปากมีฟันที่แหลมคมเต็มไปหมด มีหางยาวและไวต่อความรู้สึก ดวงตามีขนาดเล็ก
มีลำตัวทั่วไปสีดำ และยาวได้เต็มที่ประมาณ 2 เมตร (6.5 ฟุต) พบได้ในระดับความลึก 1,800 เมตร (6,000 ฟุต) เป็นปลาที่เหมือนกับปลาใต้ทะเลลึกทั่วไป คือ กินอาหารได้หลากหลายชนิดไม่เลือก เนื่องจากเป็นสถานที่ ๆ อาหารหายาก ซึ่งด้วยปากที่กว้างใหญ่เช่นนี้ทำให้สามารถกินอาหารที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวได้[1]
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เม็กกาโลดอน
เม็กกาโลดอน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เม็กกาโลโด ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีน - ไพลโอซีน | ||
---|---|---|
กรามของเม็กกาโลดอน | ||
สถานะการอนุรักษ์ | ||
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | ||
อาณาจักร: | Animalia | |
ไฟลัม: | Chordata | |
ชั้น: | Chondrichthyes | |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii | |
อันดับ: | Lamniformes | |
วงศ์: | Lamnidae | |
สกุล: | Carcharodon Smith, [[ค.ศ. 1ตจึ | 1838]] |
สปีชีส์: | C. megalodon | |
ชื่อทวินาม | ||
Carcharodon megalodon Agassiz, 1843 | ||
ชื่อพ้อง | ||
เม็กกาโลดอน (อังกฤษ: Megalodon ภาษากรีกแปลว่า ฟันใหญ่) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เม็ก (Meg) ปลาฉลามขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharodon megalodon นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีรูปร่างและลักษณะรวมทั้งพฤติกรรมคล้ายคลึงกับปลาฉลามขาว(C. carcharias) และได้จัดให้อยู่ในสกุล Carcharodon อันเป็นสกุลเดียวกับฉลามขาว แต่ทว่า เม็กกาโลดอนมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่ามาก
เม็กกาโลดอน มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคนีโอจีน (23-1.81 ล้านปีก่อน) โดยแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรในแถบทวีปอเมริกาใต้ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เม็กกาโลดอนกินอาหารโดยไม่เลือก และอาจจะกินวาฬได้ด้วย เนื่องจากมีการขุดค้นพบกระดูกวาฬที่มีรอบฟันคล้ายรอยฟันของฉลามกัด เชื่อว่าเป็นรอยฟันของเม็กกาโลดอน โดยเหยื่อของเม็กกาโลดอนชนิดหนึ่ง คือ ออโดเบ็นโอเซ็ทออป ซึ่งเป็นวาฬในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะคล้ายนาวาฬในยุคปัจจุบัน
ขนาดของเม็กกาโลดอน อาจมีความยาวประมาณ 20-22 เมตร ฟันของเม็กกาโลดอน มีความยาวประมาณ 21 เซนติเมตร และมีขนาดกรามใหญ่ถึง 2 เมตร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเม็กกาโลดอนที่ยังอ่อน จะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล และตัวใหญ่จะออกหากินตามทะเลเปิดและก้นมหาสมุทร โดยสามารถว่ายน้ำและโจมตีเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน เม็กกาโลดอนได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วราว 15 ล้านปีก่อน คาดว่าอาจเป็นเพราะ วาฬเริ่มอพยพสู่เขตน้ำเย็น ซึ่งเม็กกาโลดอนอาศัยอยู่ได้แค่เขตน้ำอุ่นเท่านั้น มันไม่สามารถเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายได้เหมือน ปลาฉลามขาว จึงไม่มีอาหารขนาดใหญ่พอสำหรับมัน จึงเป็นสาเหตุให้เม็กกาโลดอนเริ่มสูญพันธุ์ไปจนหมด แต่ยังเหลือปลาที่มีความใกล้เคียงกันที่สุดก็คือ ฉลามขาว ความใหญ่และน่ากลัวของเม็กกาโลดอนทำให้มีผู้นำไปสร้างเป็นนวนิยายและภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่อง เช่น Shark Attack 3: Megalodon ในปี ค.ศ. 2002 หรือนวนิยายเรื่อง เม็กกาโลดอน นวนิยายแนววิทยาศาสตร์สยองขวัญ โดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักเขียนและนักมีนวิทยาชาวไทย
อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ. 1933 มีชายชาวอเมริกันคนหนึ่งอ้างว่า เขาได้พบเห็นฉลามตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าฉลามปกติทั่วไปหลายเท่า โดยพบที่มหาสมุทรแปซิฟิคนอกชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา เขาอ้างว่าเฉพาะหัวส่วนของมันมีขนาดใหญ่ราว 10 ฟุต[1]
อนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ติดตั้งกล้องน้ำลึกเพื่อบันทึกภาพการกินเหยื่อของฉลาม และพบฉลามตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่มาก โดยที่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ว่า มันคือฉลามชนิดไหน แต่อาจมีความเป็นไปได้ว่า คือ เม็กกาโลดอน (แต่มีผู้สันนิษฐานว่า คือ ปลาฉลามสลีปเปอร์ แปซิฟิค (Somniosus pacificus) ซึ่งโตเต็มที่ยาวได้ 7 เมตร)
เนื้อหา
[ซ่อน]รูปภาพ[แก้]
- ภาพแสดงขนาดของปลาฉลามชนิดต่าง ๆ เทียบกับมนุษย์ (สีเขียว-ปลาฉลามขาว, สีฟ้า-ปลาฉลามวาฬ, สีเทาและสีแดง-เม็กกาโลดอน)
- ขนาดกรามของเม็กกาโลดอนเมื่อเทียบกับมนุษย์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)