เม็กกาโลดอน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เม็กกาโลโด ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีน - ไพลโอซีน | ||
---|---|---|
กรามของเม็กกาโลดอน | ||
สถานะการอนุรักษ์ | ||
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | ||
อาณาจักร: | Animalia | |
ไฟลัม: | Chordata | |
ชั้น: | Chondrichthyes | |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii | |
อันดับ: | Lamniformes | |
วงศ์: | Lamnidae | |
สกุล: | Carcharodon Smith, [[ค.ศ. 1ตจึ | 1838]] |
สปีชีส์: | C. megalodon | |
ชื่อทวินาม | ||
Carcharodon megalodon Agassiz, 1843 | ||
ชื่อพ้อง | ||
เม็กกาโลดอน (อังกฤษ: Megalodon ภาษากรีกแปลว่า ฟันใหญ่) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เม็ก (Meg) ปลาฉลามขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharodon megalodon นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีรูปร่างและลักษณะรวมทั้งพฤติกรรมคล้ายคลึงกับปลาฉลามขาว(C. carcharias) และได้จัดให้อยู่ในสกุล Carcharodon อันเป็นสกุลเดียวกับฉลามขาว แต่ทว่า เม็กกาโลดอนมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่ามาก
เม็กกาโลดอน มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคนีโอจีน (23-1.81 ล้านปีก่อน) โดยแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรในแถบทวีปอเมริกาใต้ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เม็กกาโลดอนกินอาหารโดยไม่เลือก และอาจจะกินวาฬได้ด้วย เนื่องจากมีการขุดค้นพบกระดูกวาฬที่มีรอบฟันคล้ายรอยฟันของฉลามกัด เชื่อว่าเป็นรอยฟันของเม็กกาโลดอน โดยเหยื่อของเม็กกาโลดอนชนิดหนึ่ง คือ ออโดเบ็นโอเซ็ทออป ซึ่งเป็นวาฬในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะคล้ายนาวาฬในยุคปัจจุบัน
ขนาดของเม็กกาโลดอน อาจมีความยาวประมาณ 20-22 เมตร ฟันของเม็กกาโลดอน มีความยาวประมาณ 21 เซนติเมตร และมีขนาดกรามใหญ่ถึง 2 เมตร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเม็กกาโลดอนที่ยังอ่อน จะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล และตัวใหญ่จะออกหากินตามทะเลเปิดและก้นมหาสมุทร โดยสามารถว่ายน้ำและโจมตีเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน เม็กกาโลดอนได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วราว 15 ล้านปีก่อน คาดว่าอาจเป็นเพราะ วาฬเริ่มอพยพสู่เขตน้ำเย็น ซึ่งเม็กกาโลดอนอาศัยอยู่ได้แค่เขตน้ำอุ่นเท่านั้น มันไม่สามารถเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายได้เหมือน ปลาฉลามขาว จึงไม่มีอาหารขนาดใหญ่พอสำหรับมัน จึงเป็นสาเหตุให้เม็กกาโลดอนเริ่มสูญพันธุ์ไปจนหมด แต่ยังเหลือปลาที่มีความใกล้เคียงกันที่สุดก็คือ ฉลามขาว ความใหญ่และน่ากลัวของเม็กกาโลดอนทำให้มีผู้นำไปสร้างเป็นนวนิยายและภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่อง เช่น Shark Attack 3: Megalodon ในปี ค.ศ. 2002 หรือนวนิยายเรื่อง เม็กกาโลดอน นวนิยายแนววิทยาศาสตร์สยองขวัญ โดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักเขียนและนักมีนวิทยาชาวไทย
อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ. 1933 มีชายชาวอเมริกันคนหนึ่งอ้างว่า เขาได้พบเห็นฉลามตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าฉลามปกติทั่วไปหลายเท่า โดยพบที่มหาสมุทรแปซิฟิคนอกชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา เขาอ้างว่าเฉพาะหัวส่วนของมันมีขนาดใหญ่ราว 10 ฟุต[1]
อนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ติดตั้งกล้องน้ำลึกเพื่อบันทึกภาพการกินเหยื่อของฉลาม และพบฉลามตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่มาก โดยที่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ว่า มันคือฉลามชนิดไหน แต่อาจมีความเป็นไปได้ว่า คือ เม็กกาโลดอน (แต่มีผู้สันนิษฐานว่า คือ ปลาฉลามสลีปเปอร์ แปซิฟิค (Somniosus pacificus) ซึ่งโตเต็มที่ยาวได้ 7 เมตร)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น