ปลานโปเลียน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลานโปเลียน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Labridae |
สกุล: | Cheilinus |
สปีชีส์: | C. undulatus |
ชื่อทวินาม | |
Cheilinus undulatus Rüppell, 1835 | |
ชื่อพ้อง | |
ปลานโปเลียน หรือ ปลานกขุนทองหัวโหนก (อังกฤษ: Napoleonfish, Humphead wrasse, Mauri wrase) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cheilinus undulatus จัดอยู่ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae)
ลักษณะ[แก้]
มีรูปร่างและลักษณะคล้ายปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด เมื่อยังเล็กมีลายแถบสองเส้นที่คาดผ่านตาเฉียงขึ้น เมื่อโตขึ้นลายแถบอันนี้จะหายไป สีพื้นลำตัวจะเข้มขึ้น ในปลาเพศผู้มีสีเหลือบเขียวอมน้ำเงิน มีลายสีชมพูปรากฏเป็นจุดเป็นเส้นเล็ก ๆ แทรกตามเกล็ด ซึ่งมีความแวววาวเป็นเลื่อมมัน ขณะที่ปลาเพศเมียจะมีลวดลายที่อ่อนกว่า ซึ่งปลาทั้งสองเพศจะมีจุดเด่นที่สังเกตได้ง่าย คือ ส่วนหัวที่โหนกนูนเหมือนสันหรือนอเห็นอย่างชัดเจน ซึ่งจะปรากฏเมื่อปลามีความยาวได้ 2-3 ฟุต ขอบหางมีสีเขียวอมเหลือง มีดวงตาที่สามารถกลอกกลิ้งไปมาได้
จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยเต็มที่อาจยาวได้ถึงเกือบ 3 เมตร และมีน้ำหนักถึง 190 กิโลกรัม
ที่อยู่[แก้]
เป็นปลาที่อาศัยหากินอยู่ในแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อน เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยกินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร
สำหรับในน่านน้ำไทย พบแพร่กระจายอยู่แถบทะเลอันดามัน พบตามบริเวณกองหิน แนวปะการังของ เกาะสุรินทร์, หมู่เกาะสิมิลัน ในความลึกประมาณ 3-30 เมตร [2]
ชื่อเรียกอื่น[แก้]
เหตุที่ได้ชื่อว่า "นโปเลียน" ด้วยเหตุที่ส่วนหัวที่โหนกนูน โดยเฉพาะในปลาเพศผู้ที่จะโหนกกว่าปลาเพศเมีย แลดูคล้ายหมวกของจักรพรรดินโปเลียน[3]
เป็นปลาที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยปลาที่ขายกันในตลาดปลาสวยงาม มักเป็นปลาวัยอ่อนที่มีความยาว 2-3 นิ้ว และจับมาจากฝั่งอ่าวไทยเป็นส่วนใหญ่[3]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น