วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ปลาเกราะ



ปลาเกราะ



จีนพบฟอสซิลปลา 400 ล้านปี เชื่อมทฤษฎีวิวัฒนาการครั้งสำคัญ
ภาพกราฟิกจำลองใบหน้าของปลาเกราะดึกดำบรรพ์ จากหลักฐานฟอสซิลที่คณะนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ในจีนพบครั้งล่าสุด (ภาพเอเอฟพี)
     
   รอยเตอร์ส รายงาน (26 ก.ย.) การศึกษาวิจัยของคณะนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ในจีน ที่เผยการค้นพบ ฟอสซิลปลาโบราณคำนวณอายุได้กว่า 419 ล้านปี ซึ่งสามารถเชื่อมต่อทฤษฎีวิวัฒนาการของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่ยังขาดช่วงหายไป
       
       รายงานของวารสารเนเจอร์ (Nature) ระบุเมื่อวันพฤหัสบดี (25 ก.ย.) ว่า ฟอสซิลปลาดึกดำบรรพ์นี้พบที่ อ่างเก็บน้ำเสี่ยวซิง ประเทศจีน นับเป็นโครงกระดูกของสัตว์น้ำมีกระดูกสันหลังดั้งเดิมที่สุดที่เคยค้นพบ โดยมีขากรรไกรรวมถึงกระดูกฐานฟันที่เป็นโครงสร้างเช่นเดียวกับที่พบในมนุษย์
       
       จอห์น ลอง ศาสตราจารย์ภาควิชาสัตว์และพืชดึกดำบรรพ์ ที่มหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส (Flinders University) ในแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า ในที่สุดเราก็สามารถหารอยต่อเพื่อสืบค้นวิวัฒนาการของปลาในยุคโบราณ ซึ่งมีเกราะ และเคลื่อนไหวช้า อีกทั้งสืบพันธุ์ยากกว่า นอกจากนั้นยังไม่สามารถผลัดฟันให้คมอยู่ตลอดได้อย่างปลานักล่ายุคหลังเช่นฉลามผู้เข้ามาแทนที่
       
       นักวิทยาศาสตร์ต้องประหลาดใจที่พบว่า ฟอสซิลปลาเกราะ (Entelognathus primordialis) ที่ค้นพบนี้ เป็นสายพันธุ์เดียวกันกับ ตระกูลปลาพลาโคเดิร์ม (Placoderm) ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยมีกะโหลกศีรษะเล็ก ๆ ที่ซับซ้อนและกระดูกขากรรไกร อันเป็นหลักฐานพิสูจน์หักล้างทฤษฎีก่อนหน้า ที่ว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังสมัยใหม่นั้น ได้วิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตเหมือนปลาฉลาม ขณะที่ให้ข้อมูลที่ขาดหายไปจากความรู้ความเข้าใจ ด้วยเป็นหลักฐานยืนยัน ต้นสายวิวัฒนาการของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งกระดูกและกระดูกอ่อนก่อนหน้ายุคของฉลาม
       
       จอห์น ลอง กล่าวว่า เวลานี้เราได้รู้แล้วว่า ปลาเกราะดึกดำบรรพ์นี้ เป็นวิวัฒนาการของปลายุคใหม่ และว่าการค้นพบฟอสซิลปลานี้ มีความหมายสำคัญ ต่อความรู้ความเข้าใจวิวัฒนาการมากพอๆ กับการค้นพบฟอสซิล ของ อาร์คีออปเทอริกซ์ (Archaeopteryx) อันว่าด้วยการส่งผ่านวิวัฒนาการจากไดโนเสาร์สู่นก กับ ฟอสซิลลูซี่ (Lucy) ซึ่งไขปริศนาเกี่ยวข้องกับทฤษฎีวิวัฒนาการของมนุษย์ 
จีนพบฟอสซิลปลา 400 ล้านปี เชื่อมทฤษฎีวิวัฒนาการครั้งสำคัญ
        
จีนพบฟอสซิลปลา 400 ล้านปี เชื่อมทฤษฎีวิวัฒนาการครั้งสำคัญ
แบบจำลองฯ กะโหลกศีรษะปลาเกราะ ซึ่งเป็นปลายุคก่อนประวัติศาสตร์ในชั้น Placoderm ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว (ภาพเอเยนซี)
        
จีนพบฟอสซิลปลา 400 ล้านปี เชื่อมทฤษฎีวิวัฒนาการครั้งสำคัญ
ภาพวาดปลาเกราะดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีเกราะทั้งบริเวณส่วนหัวและลำตัว ที่ผู้เชี่ยวชาญสัตว์ดึกดำบรรพ์ เชื่อว่าเป็นต้นตระกูลวิวัฒนาการของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในยุคต่อมา (ภาพเอเยนซี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น